สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ขี้อ้าย
วันที่ 17 สิงหาคม 2559

Terminalia nigrovenulosa Pierre

Combretaceae

ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5–25 ม. เปลือกแตกเป็นร่องตื้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง ต้นอ่อนกิ่งลดรูปคล้ายหนาม ใบรูปไข่ ยาว 6–10 ซม. ขอบใบมีต่อมหนึ่งคู่ใกล้โคน ก้านใบยาว 1–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง 3–6 ช่อ ช่อย่อยแบบช่อเชิงลด ยาว 3–6 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกย่อยที่สองยาว 2.5–5 ซม. แต่ละช่อมี 4–5 ดอก ใบประดับรูปเส้นด้าย ยาว 1–1.5 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1–2 มม. ด้านในมีขน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง จานฐานดอกจักมนมีขนหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2.5–3 มม. ผลมี 3 ปีก รูปขอบขนาน ยาว 1.5–3.3 ซม. มีเมล็ดเดียว รูปรี (ดูข้อมูลเพิ่มเติ่มที่ สมอ, สกุล

พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งบนเขาหินทรายหรือหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร เปลือกใช้เคี้ยวกับหมาก

ชื่อพ้อง  Terminalia triptera Stapf

ชื่ออื่น   กำจาย (เชียงใหม่); กำจำ (ภาคใต้); ขี้อ้าย (ราชบุรี); คำเจ้า (ภาคเหนือ); ตานแดง (ภาคใต้); แนอาม (ชอง-จันทบุรี); เบ็น (ประจวบคีรีขันธ์, สุโขทัย); ประดู่ขาว (ชุมพร); ปู่เจ้า, ปู่เจ้าหามก๋าย, พระเจ้าหอมก๋าย, พระเจ้าหามก๋าย (ภาคเหนือ); แฟบ (ประจวบคีรีขันธ์); มะขามกราย (ชลบุรี); สลิง (ภาคเหนือ); สังคำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สีเสียดต้น, แสงคำ, แสนคำ (เลย); หนองมึงโจ่ (กะเหรี่ยง-จันทบุรี); หนามกราย (ชลบุรี); หอมกราย (จันทบุรี); หานกราย (ราชบุรี); หามกราย (ชลบุรี); หามก๋าย (ภาคเหนือ)

ขี้อ้าย: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อเชิงลด ผลมี 3 ปีก รูปขอบขนาน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Chen, J. and N.J. Turland. (2007). Combretaceae. In Flora of China Vol. 13: 311.

Nanakorn, W. (1985). The genus Terminalia (Combretaceae) in Thailand (Terminalia triptera). Thai Forest Bulletin (Botany) 15: 87–90.