Index to botanical names
Malvaceae
ไม้พุ่ม สูง 1–3 ม. มีขนรูปดาวหนาแน่นตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก และผล ใบรูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 3–15 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมนหรือกลม ขอบเรียบ เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดและแบบร่างแห ก้านใบยาว 0.3–1.5 ซม. ช่อดอกกระจุกสั้น ๆ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. ดอกสีม่วงอมชมพูอ่อน ๆ กลีบรูปใบพาย ยาว 0.5–1 ซม. เกสรเพศผู้เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียจักตื้น ๆ ผลรูปทรงกระบอก ยาว 1–3 ซม. มี 5 สันพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือชายป่า ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร
ชื่ออื่น ขี้ตุ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้อ้น (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); เข้ากี่น้อย (ภาคตะวันออก); ปอขี้ไก่, ปอเต่าไห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ปอมัดโป (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); ป่าเหี้ยวหมอง (ภาคเหนือ); ไม้หมัด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ยำแย่ (ภาคใต้); หญ้าหางอ้น (ภาคเหนือ)
ขี้อ้น: ขอบใบเรียบ เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก กลีบดอกรูปปากเปิด ผลรูปทรงกระบอกมี 5 สัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Phengklai, C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 563–571.
Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 318–319.