สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ขามคัวะ
วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

Pterospermum semisagittatum Buch.-Ham. ex Roxb.

Sterculiaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 16–25 ซม. ปลายบางครั้งยาวคล้ายหาง โคนเป็นเงี่ยงลูกศร แผ่นใบด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบข้างละ 6–7 เส้น เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ใบประดับรูปรี ยาวประมาณ 5 ซม. ขอบจักชายครุย กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 4–8 ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกรูปใบพาย ยาว 4.5–6 ซม. ด้านนอกมีขนกระจาย เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาว 4.5–5 ซม. ก้านชูอับเรณูมีต่อมโปร่งใส รังไข่มีขนหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. โคนมีขนกระจาย ผลรูปรี ยาว 6–8 ซม. มีขนหนาแน่น เมล็ดรูปไข่ ยาว 2.5–3 ซม. มีปีกบาง ๆ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ลำป้าง, สกุล)

พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ เวียดนาม และคาบสมุทรมลายู ในไทยกระจายห่าง ๆ ทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร

ชื่ออื่น   กระนวล, กระนาน (เขมร-สุรินทร์); กะหนาน (ภาคใต้); ขนาน (พิจิตร); ขามคัวะ (ภาคเหนือ); แผละอวย, เส่เบลเบ้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); หำขัวะ, หำฟาน, หำม้า (ภาคเหนือ); หำรอก (นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช); หำฮอก (ภาคเหนือ)

ขามคัวะ: เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น โคนใบเป็นเงี่ยงลูกศร ผลมีขนหนาแน่น (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)

เอกสารอ้างอิง

Phengklai, C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 615.