Index to botanical names
Salicaceae
ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 40 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบ กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบรูปไข่กลับ ยาว 10–25 ซม. ปลายมนมีติ่งแหลม แผ่นใบด้านบนมีขนสั้นสาก ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. ดอกออกเป็นกระจุกสั้น ๆ เรียงเวียนบนแกนช่อ ห้อยลง ยาว 10–35 ซม. แต่ละกระจุกมี 2–5 ดอก ไร้ก้าน มีกลิ่นเหม็น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5–6 กลีบ หลอดกลีบเลี้ยงรูปกรวย เชื่อมติดรังไข่เกินกึ่งหนึ่ง กลีบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนคล้ายขนแกะ เกสรเพศผู้ 5–6 อัน ก้านชูอับเรณูเกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย 2–3 อัน สั้นกว่ากลีบเลี้ยงและกลีบดอก ติดทน ผลรูปกรวยกลับ กลีบเลี้ยงขยายคล้ายปีกพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น เขาหินปูน ความสูง 100–350 เมตร
ชื่อพ้อง Blakwellia tomentosa Vent.
ชื่อสามัญ Burma lancewood, Moulmein lancewood
ชื่ออื่น ขางนาง, ขานาง, คะนาง (ภาคกลาง); โคด (ระยอง); ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่); แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ปะหง่าง (ราชบุรี); เปลือย (กาญจนบุรี); เปี๋อยนาง, เปื๋อยคะนาง (อุตรดิตถ์); เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง); ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ขานาง: ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบ ช่อดอกห้อยลง ดอกออกเป็นกระจุกสั้น ๆ เรียงเวียนบนแกนช่อ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Harwood, B. (2015). Salicaceae. In Flora of Thailand Vol. 13(1): 37–49.
Sleumer, H. (1985). The Flacourtiaceae of Thailand. Blumea 30: 220–221.