| | Bolbitis heteroclita (C.Presl) Ching ex C.Chr. |
|
เฟินขึ้นบนดินหรือส่งส่วนของลำต้นเกาะตามต้นไม้หรือก้อนหิน เหง้าทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–8 มม. เกล็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปใบหอก ยาว 4–5 มม. ขอบจัก ใบไม่สร้างสปอร์เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ก้านใบยาว 10–30 ซม. โคนมีเกล็ด ใบย่อยมี 1–2 คู่ รูปขอบขนาน แผ่นใบบาง ยาว 7–15 ซม. ปลายยาวคล้ายหาง ไร้ก้าน ใบปลายรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 50–80 ซม. รวมปลายที่ยาวคล้ายหาง เส้นกลางใบมักมีตาพิเศษ ใบสร้างสปอร์เป็นใบประกอบ กว้าง 4–12 ซม. ยาว 15–19 ซม. ก้านใบยาว 7–15 ซม. โคนมีเกล็ด ใบย่อยมี 2–6 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5–10 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบหรือจักมน ก้านใบสั้น กลุ่มอับสปอร์กระจายบนแผ่นใบด้านล่าง ไม่มีเยื่อคลุม ผนังสปอร์หนา
พบที่อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ใต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกีนี ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่ชุ่มชื้นใกล้ลำธาร ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร
สกุล Bolbitis Schott เคยอยู่ภายใต้วงศ์ Aspleniaceae หรือ Lomariopsidaceae มีประมาณ 80 ชนิด พบทั่วไปในเขตร้อน โดยเฉพาะในเอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยมี 13 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “bolbos” หัว ตามลักษณะของตาพิเศษตามเส้นกลางใบ
| ชื่อพ้อง Acrostichum heteroclitum C.Presl
| | | ชื่ออื่น กูดเป้า, กูดเป้าหลวง, กูดหางค่าง, กูดหางนกกะลิง (ภาคเหนือ)
| | กูดหางค่าง: เฟินขึ้นบนดิน ส่วนของลำต้นเกาะตามต้นไม้หรือก้อนหิน ใบสร้างสปอร์เป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 2–6 คู่ กลุ่มอับสปอร์กระจายอยู่ทั่วแผ่นใบด้านล่าง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Lomariopsidaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(3): 320. |
| Xing, F., W. Faguo and K. Iwatsuki. (2013). Dryopteridaceae (Bolbitis). In Flora of China Vol. 2–3: 713, 719. |