| | Davallia repens (L.f.) Kuhn |
|
เฟินอิงอาศัย หรือขึ้นบนหิน เหง้าทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2 มม. เกลี้ยง เกล็ดหนาแน่น รูปใบหอกถึงรูปแถบ ใบประกอบ 2 ชั้น หรือ 3 ชั้นในใบช่วงโคนต้น รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยมกว้าง 0.5–14 ซม. ยาว 0.6–24 ซม. ก้านใบยาวได้ถึง 15 ซม. มีเกล็ดประปราย ใบประกอบย่อยใบล่างขนาดใหญ่ที่สุด รูปคล้ายสามเหลี่ยมหรือแกมรูปขอบขนาน เบี้ยว ใบช่วงปลายขนาดเล็ก เรียบหรือจักเป็นพู ไร้ก้านหรือแต่ละใบเชื่อมติดกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายมน โคนเบี้ยว จักเป็นพูหรือเรียบ ค่อนข้างหนา เกลี้ยง แต่ละใบมีกลุ่มอับสปอร์ 1–5 อัน ติดตามขอบใบ เยื่อคลุมคล้ายรูปครึ่งวงกลม กว้างประมาณ 1 มม. โคนเชื่อมติดกัน (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ นาคราช, สกุล)
พบที่มาดากัสการ์ หมู่เกาะเซเชลส์และแมสคารีน เอเชียเขตร้อน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบเขาความสูง 1000–1600 เมตร
| ชื่อพ้อง Adiantum repens L.f., Humata repens (L.f.) Diels, H. vestita (Blume) Moor.
| | | ชื่ออื่น กูดทอง, กูดพญาคุฑราช (เลย); กูดหอมป้อมใบย่อย (เชียงใหม่); กูดฮ่อม, นาคราชตัวเมีย (ตราด)
| | กูดทอง: เฟินอิงอาศัย ใบประกอบ 2– 3 ชั้น ใบประกอบย่อยใบล่างขนาดใหญ่ที่สุด ไร้ก้านหรือแต่ละใบเชื่อมติดกัน กลุ่มอับสปอร์ 1–5 อัน ติดตามขอบใบ (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย, ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|