Index to botanical names
Anacardiaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. แยกเพศต่างต้น กิ่งแก่มีช่องอากาศ มีขนรูปดาวและขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน และแผ่นใบด้านล่าง ใบประกอบเรียงเวียน ยาว 10–30 ซม. ใบย่อยมี 3–7 คู่ รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 2.5–10 ซม. ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว ก้านใบย่อยยาว 1–5 มม. ใบปลายยาวได้ถึง 2 ซม. ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลดแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งก่อนผลิใบ ช่อดอกเพศผู้ยาว 15–30 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่า ใบประดับขนาดเล็ก ดอกสีเหลือง มักมีปื้นสีม่วงอมแดง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 1.5–2 มม. ขอบมีขนครุย กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว 2–2.5 มม. ปลายพับงอกลับ เกสรเพศผู้ 8 อัน อับเรณูติดด้านหลัง จานฐานดอกเป็นวง รังไข่เกลี้ยง มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย 4 อัน ผลแบบผนังชั้นในแข็ง รูปขอบขนาน ยาว 0.8–1 ซม. สุกสีม่วงอมแดง เมล็ดส่วนมากเจริญเพียงเมล็ดเดียวพบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู และชวา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตร ส่วนต่าง ๆ ทำให้ระคายเคือง มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่างสกุล Lannea A. Rich. มีประมาณ 70 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา ในไทยมีเพียงชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “lana” ขนคล้ายขนแกะ ตามลักษณะของกิ่งอ่อนหรือรากในพืชบางชนิด หรืออาจเป็นภาษาพื้นเมืองในแอฟริกา
ชื่อพ้อง Dialium coromandelinum Houtt.
ชื่อสามัญ Indian ash tree
ชื่ออื่น กอกกั๋น (อุบลราชธานี); กุ๊ก, อ้อยช้าง (ภาคเหนือ); ช้าเกาะ, ช้างโน้ม (ตราด); ซาเกะ (สุราษฎร์ธานี); ตะคร้ำ (กาญจนบุรี, ราชบุรี); ปีเชียง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); แม่หยู่ว้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); เส่งลู้ไค้ (กะเหรี่ง-เชียงใหม่); หวีด (เชียงใหม่)
กุ๊ก: ใบประกอบปลายคี่ ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว ผลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน สุกสีม่วงอมแดง (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ปรีชา การะเกตุ)
Chayamarit, K. (2010). Anacardiaceae. In Flora of Thailand Vol. 10(3): 293–295.
Min, T. and A. Barfod. (2008). Anacardiaceae. In Flora of China Vol. 11: 342.