ไม้ต้น สูง 10–15 ม. ใบประกอบ 2–3 ชั้น ยาว 18–60 ซม. ใบประกอบย่อยมี 3–4 คู่ ใบย่อย 3–5 คู่ รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 5–12 ซม. เบี้ยว มักมีต่อมที่โคนด้านหลังใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตามลำต้นและกิ่ง มี 5–13 ดอก ดอกสีส้ม ก้านดอกยาว 0.5–1 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันประมาณกึ่งหนึ่งคล้ายกาบ หลอดกลีบยาว 1.5–2 ซม. ดอกรูปกรวย ยาว 4.5–7 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปกลม ยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้มีขน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4.5 ซม. แกนอับเรณูปลายเป็นติ่งแหลม ฝักยาว 30–45 ซม.
พบที่จีนตอนใต้ ไต้หวัน พม่า ลาว และเวียดนาม ในไทยพบกระจายทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร
|
ชื่อพ้อง Mayodendron igneum (Kurz) Kurz, Spathodea igneum Kurz
|
|
|
ชื่ออื่น กากี (สุราฎร์ธานี); กาสะลองคำ (เชียงราย); แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น (ลำปาง); จางจืด (เชียงใหม่); สะเภา, อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
|
|
กาซะลองคำ: ใบประกอบ 2–3 ชั้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ตามลำต้นและกิ่ง กลีบดอกรูปกรวย กลีบเลี้ยงคล้ายกาบ (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
|
|