| ไม้ล้มลุก แตกกอชิดกัน สูง 1–3 ม. ใบยาวได้ถึง 2 ม. โคนด้านหนึ่งมน อีกด้านเรียวแหลม แผ่นใบมีนวลเล็กน้อย เส้นกลางใบมักสีแดง ก้านใบยาวได้ถึง 60 ซม. ช่อดอกตั้งตรง ก้านช่อยาว 2–3 ซม. เกลี้ยง ใบประดับสีชมพู ของดอกเพศเมียอยู่ช่วงล่าง มีประมาณ 7 ใบ แต่ละใบประดับมี 3–6 ดอก เรียงแถวเดียว กลีบรวมที่ติดกันยาวประมาณ 3.5 ซม. กลีบที่แยกกันสั้นกว่าเล็กน้อย ปลายจัก 5 พู ตื้น ๆ พับงอ เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาว 1–2 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 3 ซม. ในดอกเพศผู้กลีบรวมที่ติดกันยาว 3.5–4 ซม. กลีบที่แยกกันยาว 3–3.5 ซม. ผลเรียงชิดกันคล้ายนิ้วมือ ผลย่อยเป็นเหลี่ยม ยาว 6–8 ซม. เมล็ดสีดำ แบน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กล้วย, สกุล)
มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย พม่า และบังกลาเทศ เป็นไม้ประดับทั่วไป ซึ่งพบปลูกเป็นไม้ประดับก่อนที่จะมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ. 1824 ทำให้มีการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อมาก่อน เช่น M. rosacea Jacq., M. speciosa Ten., M. carolinae A. Sterler และ M. rosea Baker นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผสมหลากหลายสายพันธุ์ ใบประดับหลากสี
| | | | | | กล้วยบัวสีชมพู: โคนใบด้านหนึ่งมน ด้านหนึ่งเรียวแหลม ช่อดอกตั้งขึ้น ใบประดับสีชมพูอมม่วง ๆ ดอกเรียงแถวเดียว ผลเรียงชิดกันคล้ายนิ้วมือ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | ราชบัณฑิตยสถาน. (2547). อนุกรมวิธานพืชอักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. ราชบัณฑิตยสถาน,
กรุงเทพฯ. |
| Cheesman, E.E. (1949). The classification of the bananas. Kew Bulletin 1949: 265–267. |
| Cheesman, E.E.Cheesman, E.E. (1950). Classification of the Bananas. Kew Bulletin 5: 154. |
| Joe, A., P.E. Sreejith and M. Sabu. (2016). Notes on Musa rubra Kurz (Musaceae) and reduction of M. laterita Cheesman as conspecific. |
| Liu, A.Z., W.J. Kress and D.Z. Li. (2010). Phylogenetic analyses of the banana family (Musaceae) based on nuclear ribosomal (ITS) and chloroplast (trnL-F) evidence. Taxon 59(1): 20–28. |
| Staples, G.W. and D.R. Herbst. (2005). A tropical garden flora. Bishop Museum Press, Honolulu, Hawai`i. |
| Wu, D. and W.J. Kress. (2000). Musaceae. In Flora of China Vol. 24: 314–315. |