| | Vachellia harmandiana (Pierre) Maslin, Seigler & Ebinger |
|
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. เปลือกเรียบสีเทา หูใบเป็นหนาม ยาวได้ถึง 6 ซม. ติดทน บางครั้งออกชิดกันดูคล้ายเรียงซ้อน ใบประกอบแกนกลางยาวได้ถึง 18 ซม. ก้านยาว 1–5 ซม. มีหรือไม่มีต่อมด้านบน ใบประกอบย่อย 1–5 คู่ ยาว 4–12 ซม. ก้านสั้น ใบย่อย 4–13 คู่ รูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 0.6–3.5 ซม. ปลายกลมหรือตัด เว้าตื้นหรือมีติ่งแหลม ไร้ก้าน ช่อดอกสีขาว แยกแขนง ใบประดับติดใต้กึ่งกลางก้านช่อ ใบประดับย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงยาว 0.9–1.1 มม. มีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกเชื่อมติดกันประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ 15–22 อัน รังไข่มีขนละเอียด ฝักรูปแถบ แบน ยาว 6–13 ซม. บิดงอ เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ 5.5 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่กระถินเทศ, สกุล)
พบที่ภูมิภาคอินโดจีน และอาจพบในพม่า ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง จนถึงความสูงประมาณ 300 เมตร นิยมใช้เลี้ยงครั่ง
| ชื่อพ้อง Pithecellobium harmandianum Pierre, Acacia harmandiana (Pierre) Gagnep.
| | | ชื่ออื่น กระถินป่า, กระถินพิมาน (พิษณุโลก, สุโขทัย); แฉลบขาว (ราชบุรี); ปี้มาน (ภาคเหนือ); พิมาน, มะขี้มาน (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
| | กระถินพิมาน: เปลือกเรียบสีเทา หูใบเป็นหนาม ติดทน ใบประกอบ 2 ชั้น ช่อดอกแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)
|
|
|