Index to botanical names
ไมยราบ
Fabaceae
ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้นและข้อ หูใบรูปเส้นด้ายหรือรูปใบหอก ร่วงเร็ว ใบประกอบ 2 ชั้น ใบย่อยเรียงตรงข้าม ไวต่อการสัมผัส ไม่มีต่อมตามก้านใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น รูปกลมหรือรี ออกเดี่ยว ๆ เป็นคู่ หรือเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกขนาดเล็ก 4 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มี 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 4–8 อัน แยกกัน รังไข่ไร้ก้านหรือเกือบไร้ก้าน ผลเป็นฝักตรง เมล็ดมีพลูโรแกรม (pluerogram) เป็นวงสกุล Mimosa มีประมาณ 480 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอเมริกาใต้ ในไทยพบเป็นวัชพืช 3 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “mimos” การแสดง หมายถึงการไวต่อการสัมผัสของใบ
ไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งสูงได้ถึง 1 ม. มีขนหยาบตามลำต้น แกนใบประกอบ ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง และช่อดอก แกนกลางใบรวมก้านยาว 2.5–5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 2 คู่ เรียงชิดกันคล้ายรูปฝ่ามือ ยาว 1.5–7 ซม. ใบย่อยมี 12–25 คู่ รูปขอบขนานหรือรูปเคียว ยาว 0.5–1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5–4 ซม. ดอกไร้ก้าน รูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5–0.8 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง ฝักรูปขอบขนาน ยาว 1.5–1.8 ซม. ขอบมีขนแข็งมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ นำเข้าโดยกรมทางหลวงเพื่อช่วยคลุมหน้าดิน แยกเป็น var. hispida Brenan กลีบดอกมีขน และ var. unijuga (Duchass. & Walp.) Griseb. กลีบดอกเกลี้ยง
ชื่อสามัญ Sensitive plant, Touch-me-not
ชื่ออื่น กระทืบยอด (จันทบุรี); กะหงับ (ภาคใต้); ก้านของ (นครศรีธรรมราช); นาหมื่อม้ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ไมยราบ, ระงับ (ภาคกลาง); หงับพระพาย (ชุมพร); หญ้าจิยอบ, หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ); หนามหญ้าราบ (จันทบุรี)
ไมยราบ: ใบประกอบย่อยเรียงชิดกันคล้ายรูปฝ่ามือ ฝักรูปขอบขนาน ขอบมีขนแข็ง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. แตกกิ่งหนาแน่น มีหนามโค้งบนแกนใบประกอบระหว่างรอยต่อใบประกอบย่อย มีขนหยาบตามกิ่ง แกนก้านใบ ขอบใบ และช่อดอก แกนกลางใบประกอบยาว 11–17 ซม. เป็นเหลี่ยม ก้านใบประกอบยาว 0.8–2.8 ซม. ใบประกอบย่อยมี 10–14 คู่ ยาว 3.5–4.5 ซม. ใบย่อยมีประมาณ 45 คู่ รูปแถบแกมขอบขนาน ยาว 5–9 มม. ก้านช่อยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงบางและแห้ง ดอกรูปแตร ยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 1.2 มม. เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ฝักรูปขอบขนานถึงรูปแถบ ยาวได้ถึง 6 ซม. ปลายมีจะงอย มีขนสากหนาแน่นมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน
ชื่อสามัญ Giant sensitive tree
ชื่ออื่น ไมยราบต้น, ไมยราบยักษ์ (ทั่วไป)
ไมยราบต้น: มีหนามโค้งบนแกนระหว่างรอยต่อใบประกอบย่อย ใบย่อยจำนวนมาก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Oxalidaceae
ไม้พุ่มทอดเลื้อยหนาแน่น สูงได้ถึง 1 ม. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม สันเหลี่ยมมีหนามโค้งเป็นแถว มีขนหยาบและหนามโค้งประปรายตามแกนก้านใบ แผ่นใบ และช่อดอก แกนกลางใบประกอบยาว 6–11 ซม. ก้านยาว 3–5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 4–7 คู่ ยาว 1–4.5 ซม. ใบย่อยมี 12–21 คู่ รูปขอบขนาน ยาว 2–7 มม. ก้านช่อดอกยาว 0.5–6 ซม. ดอกรูปกรวยแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 1 มม. ปลายมน เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนละเอียด ฝักรูปขอบขนาน ยาว 1.5–3.5 ซม. ขอบมีขนแข็งมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน นำเข้าโดยกรมวิชาการเกษตรเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช
ชื่อพ้อง Mimosa invisa Mart. ex Colla
ชื่อสามัญ Giant false sensitive plant, Nila grass
ชื่ออื่น ไมยราบขาว, ไมยราบหนาม (กรุงเทพฯ)
ไมยราบขาว: ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีหนามโค้งตามสันเหลี่ยมเป็นแถว มีขนหยาบตามแกนก้านใบ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Nielsen, I.C. (1985). Leguminosae-Mimosoideae. In Flora of Thailand Vol. 4(2): 151–155.