Index to botanical names
ไฟเดือนห้า
Apocynaceae
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 ม. ใบเรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 6–15 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อยาว 3.5–6 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ดอกสีแดงหรืออมเหลือง ยาวเกือบ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็ก มีต่อม กลีบดอกเวียนคล้ายกงล้อ มี 5 กลีบ แฉกลึก กลีบพับงอกลับ มีกะบังรอบสีเหลืองหรือส้ม ปลายเป็นตะขอ ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นหลอด อับเรณูมีรยางค์โค้ง ยอดเกสรเพศเมียรูปกรวย ผลแห้งแตกรูปกระสวย ยาว 5–10 ซม. เมล็ดรูปไข่ แบน ยาวประมาณ 6–7 มม. กระจุกขนยาว 2–4 ซม.มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน เป็นวัชพืชทั่วไป รากและดอกมีสรรพคุณสมุนไพร ส่วนต่าง ๆ มีสาร asclepiadin เป็นพิษโดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงอาจถึงชีวิตสกุล Asclepias L. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Asclepiadoideae มีประมาณ 100 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอเมริกาเขตร้อน ในไทยขึ้นเป็นวัชพืชชนิดเดียว และอีกชนิดเป็นไม้ประดับ ดอกสีเหลือง อาจเป็นพันธุ์ผสม A. tuberosa ‘Hello Yellow’ ชื่อสกุลมาจากชื่อเทพเจ้ากรีกโบราณ Asclepius ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค เนื่องจากพืชหลายชนิดในสกุลนี้มีสรรพคุณด้านสมุนไพร
ชื่อสามัญ Bastard Ipecacuanha, Blood flower, Mexican butterfly weed, Scarlet milkweed, Silkweed, Tropical milkweed
ชื่ออื่น ค่าน้ำ (ลำปาง); คำแค่ (เงี้ยว- แม่ฮ่องสอน); ดอกไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี); เด็งจ้อน (ลำปาง); เทียนแดง (ภาคกลาง); เทียนใต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); เทียนทำ (เชียงใหม่); นางแย้ม (นครราชสีมา); บัวลาแดง, พริกนก (เชียงใหม่); พอตอซู (กะเหรี่ยง-ตาก); พอสู่เหนาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ไฟเดือนห้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์); ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี)
ไฟเดือนห้า: ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ราชันย์ ภู่มา)
Euphorbiaceae
Li, B., M.G. Gilbert and W.D. Stevens. (1995). Asclepiadaceae. In Flora of China Vol. 15: 203–204.