Index to botanical names
แดงสะแง
Malvaceae
ไม้ต้น หูใบขนาดเล็ก ใบเรียงสลับระนาบเดียว เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน ขยายในผล ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวนมาก แยกกัน อับเรณูติดที่ฐาน รังไข่มี 2–5 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 3–5 แฉก ผลแห้งไม่แตก เมล็ดไม่มีปีกสกุล Schoutenia เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Tiliaceae ปัจจุบันอยู่วงศ์ย่อย Dombeyoideae มี 8 ชนิด พบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมี 5 ชนิด ชื่อสกุลตั้งตามนักสำรวจชาวดัตช์ Willem Corneliszoon Schouten (1567–1625)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. หูใบรูปลิ่มแคบ ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 4–17 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนมน เบี้ยว แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 4–6 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาว 0.4–1 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 2–5 ซม. ตาดอกกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงรูปรี มีขนด้านนอก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เกลี้ยง รังไข่มีขน ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–7 มม. มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยงที่ขยายบานออก แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.5 ซม. กลีบรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1 ซม.พบที่กัมพูชา เวียดนาม ชวา และออสเตรเลีย ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูง 100–200 เมตร
ชื่ออื่น กาสิน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้เทา (ภาคตะวันออก); แดงแขแหย, แดงดง, แดงแพ่แย่ (ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แดงสะแง (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี); แดงแสม (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์); แดงเหนียว (ภาคกลาง); แบงทะแง (เขมร-ปราจีนบุรี); สะแง (เขมร-ภาคตะวันออก)
แดงสะแง: แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น กลีบเลี้ยงขยายบานออกในผล แฉกลึกเกินกึ่งหนึ่ง ปลายแหลม ผลแห้งไม่แตก มีขนหนาแน่น (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Phengklai, C. (1993). Tiliaceae. In Flora of Thailand Vol. 6(1): 73–80.
Roekmowati-Hartono. (1965). A monograph of the genus Schoutenia Korth. (Tiliaceae). Reinwardtia Vol. 7(2): 91–138.