Index to botanical names
เสลาดำ
Lythraceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาว มีขนละเอียดตามกิ่ง เส้นแขนงใบด้านล่าง ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 8–15 ซม. ปลายแหลม มน หรือกลม โคนเบี้ยว ก้านใบยาว 0.3–1 ซม. ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 30 ซม. ก้านดอกเทียมยาว 1–4 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 5 มม. มี 6 สัน ปลายแยกเป็น 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3–4 มม. ระหว่างกลีบมีติ่งยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง ติดทน ดอกสีชมพูอมม่วง มี 6 กลีบ รูปไข่ ยาว 7–9 มม. รวมก้านกลีบที่ยาว 2–3 มม. ขอบกลีบเป็นคลื่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก มี 6–7 อันด้านนอกยาวกว่าอันด้านใน รังไข่เกลี้ยง เกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตกเป็น 4–5 ซีก รูปรี ยาว 1.5–2.5 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตะแบก, สกุล)พบที่จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูง 150–800 เมตร
ชื่ออื่น เซ้า, ติ้ว, ทิ้ว (สระบุรี); เปื๋อยขี้หมู (นครพนม); เปื๋อยช่อ, เสลาดำ, เสลาเปลือกบาง (ราชบุรี); เส้า, เส้าชิ้น, เส้าดำ, เส้าหมื่น (ภาคเหนือ); ม่อหนาม (เงี้ยว-เชียงใหม่); เส่พอมือปรา, เส่เพาะมือกวา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
เสลาดำ: ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง หลอดกลีบเลี้ยงมี 6 สัน ระหว่างกลีบมีติ่งยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง ติดทน เกสรเพศผู้จำนวนมาก มี 6–7 อันด้านนอกยาวกว่าอันด้านใน (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
de Wilde, W.J.J.O., B.E.E. Duyfjes and P. Phonsena. (2014). Lythraceae. In Flora of Thailand Vol. 11(4): 579–580.