Index to botanical names
เมื่อย
Gnetaceae
ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้ต้น ส่วนใหญ่แยกเพศต่างต้น กิ่งโป่งตามข้อ ไม่มีหูใบ ใบเรียงตรงข้าม ขอบเรียบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด (strobilus) ออกเดี่ยว ๆ หรือแยกแขนงคล้ายช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบ กิ่ง หรือลำต้น โคนมีใบประดับ 1 คู่ เชื่อมติดกัน ดอกออกรอบข้อบนส่วนแผ่เป็นวง (collar) แต่ละวงใบประดับเชื่อมติดกัน ดอกไร้ก้าน ดอกเพศผู้จำนวนมาก ติดบนกลีบรวมหนาคล้ายถ้วย เกสรเพศผู้ 2 อัน ยื่นพ้นกลีบรวม ดอกเพศเมียมีน้อยกว่าและส่วนแผ่เป็นวงเรียงห่างกว่า ออวุลมีกลีบรวมหนาหุ้ม ผนังออวุลด้านในยื่นเป็นหลอด ด้านนอกหนาเชื่อมติดกลีบรวมพัฒนาหุ้มเมล็ด สุกสีแดง เหลือง หรือส้ม ชั้นในแข็งสกุล Gnetum พืชเมล็ดเปลือย เป็นสกุลเดียวของวงศ์ มีประมาณ 40 ชนิด พบในแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 8 ชนิด หลายชนิดมีสรรพคุณด้านสมุนไพร เปลือกเหนียวใช้ทำเชือก ใบและเมล็ดกินได้ โดยเฉพาะ G. gnemon L. หรือเมียง และ var. tenerum Markgr. หรือผักเมี่ยง ที่เป็นไม้พุ่ม แผ่นใบบาง ออกเดี่ยว ๆ หรือแตกแขนงเดียว ผลรูปขอบขนาน ปลายมีติ่งแหลม ชื่อสกุลมาจากคำว่า “gnemon” ที่เป็นคำระบุชนิดของเมียง
ผักเมี่ยง: ไม้พุ่ม แผ่นใบบาง ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกเดี่ยว ๆ หรือแตกแขนงเดียว ผลรูปขอบขนาน ปลายมีติ่งแหลม (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ราชันย์ ภู่มา)
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาวกว่า 10 ม. ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–25 ซม. ก้านใบยาว 1–1.5 ซม. ใบแห้งสีดำ ช่อดอกเพศผู้ส่วนมากแยกแขนง ยาว 2.5–6 ซม. ก้านช่อสั้น ช่อแขนงยาว 2–3 ซม. ส่วนแผ่เป็นวงมี 13–18 วง มีดอกเพศเมียที่เป็นหมัน ช่อดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก ก้านช่อยาว 2–3 ซม. ช่อยาว 2–3 ซม. ดอกเพศเมียมี 5–8 ดอก ในแต่ละวง เมล็ดรูปรี ยาว 1.2–1.5 ซม. สุกเปลือกหุ้มสีแดง ก้านหนา ยาว 2–3 มม.พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1800 เมตร
ชื่ออื่น ม่วย (เชียงราย, อุบลราชธานี); มะม่วย (เชียงใหม่); เมื่อย (ตราด); แฮนม่วย (เลย)
เมื่อย: ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกแยกแขนง ออกตามลำต้น (ภาพ: วรดลต์ แจ่มจำรูญ)
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10–21 ซม. ก้านใบยาว 0.7–1.5 ซม. ใบแห้งสีน้ำตาล ช่อดอกไม่แยกแขนง ออกเป็นกระจุกตามเถา ห้อยลง ดอกเพศผู้จำนวนมากในแต่ละวง มีดอกเพศเมียที่เป็นหมันประมาณ 10 ดอก ช่อดอกเพศเมียขยายในผล มีขนละเอียด แกนช่อยาวได้ถึง 15 ซม. เมล็ดไร้ก้าน มี 5–7 เมล็ดในแต่ละวง รูปรี ยาว 2–3 ซม. เป็นมันวาวพบที่กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย นิวกินี ในไทยส่วนมากพบทางภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร
ชื่ออื่น เมื่อย (นครศรีธรรมราช); เมื่อยดำ (ชุมพร)
เมื่อยดำ: ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ เป็นกระจุกตามลำต้น ห้อยลง เมล็ดไร้ก้าน มี 5–7 เมล็ดในแต่ละวง เป็นมันวาว (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 13–16 ซม. ปลายมีติ่งแหลม เส้นแขนงใบโค้งจรดกัน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. ช่อดอกเพศผู้ออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ยาวได้ถึง 5 ซม. ส่วนแผ่เป็นวงมีขนอุยหนาแน่นสีน้ำตาล ยาวเป็นสองเท่าของแผ่นวง ดอกเพศเมียที่เป็นหมันมีประมาณ 10 ดอก ช่อดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกตามลำต้น ตั้งขึ้น ยาวได้ถึง 9 ซม. ดอกเพศเมียมีประมาณ 10 ดอกในแต่ละวง มีขนอุยสีน้ำตาลหนาแน่น ติดทน เมล็ดไร้ก้าน รูปรี ยาวได้ถึง 2 ซม. สุกเปลือกหุ้มสีแดงคล้พบที่พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และภูมิภาคมาเลเซีย ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นใกล้ลำธาร ความสูง 100–900 เมตร
ชื่ออื่น ม่วย, เมื่อย (นครราชสีมา); เมื่อยดูก (ปัตตานี); เมื่อยเลือด (หนองคาย)
เมื่อยดูก: ช่อดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ เป็นกระจุกตามลำต้น ตั้งขึ้น ส่วนที่แผ่เป็นวงมีขนอุยสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดไร้ก้าน รูปรี (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Fu, L., Y.F. Yu and M.G. Gilbert. (1999). In Flora of China Vol. 4: 102, 104.
Phengklai, C. (1975). Gnetaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(3): 204–210.