สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

เทียนหิน

เทียนหิน
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559

Didymocarpus ovatus Barnett

Gesneriaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 50 ซม. มีขนหยาบหนาแน่นตามลำต้น แผ่นใบทั้งสองด้าน และก้านใบ มีขนต่อมตามช่อดอก ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่ ยาว 5–15 ซม. โคนเบี้ยว ก้านใบยาว 1.5–9 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้ยอด ก้านช่อยาว 6–9 ซม. ใบประดับรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 4 มม. ก้านดอกยาว 3–5 มม. กลีบเลี้ยงแยกจรดโคน เกลี้ยง รูปใบหอก ยาว 4–4.5 มม. ดอกรูปดอกเข็ม สีม่วงอมน้ำตาลแดง หลอดกลีบสีขาวเรียวแคบ ยาว 1.5–2 ซม. ปลายบานออกเล็กน้อย กลีบบนกลม จักตื้น ๆ กลีบล่างแผ่กว้าง กว้างประมาณ 6 มม. ยาวประมาณ 4 มม. เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดเหนือจุดกึ่งกลางหลอดกลีบ ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูมีขนเครา เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน จานฐานดอกรูปทรงกระบอกกว้าง ยาว 1–1.5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.7–1.8 ซม. รังไข่เกลี้ยง ผลรูปแถบ ยาว 2–2.5 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ดอกกระดิ่ง, สกุล)

พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่ ขึ้นบนโขดหินตามสันเขาในป่าดิบชื้น ความสูง 900–1200 เมตร

เทียนหิน: ใบเรียงตรงข้าม ขอบจักฟันเลื่อย 2 ชั้น โคนใบเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อกระจุกซ้อน มีขนต่อมกระจาย กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง หลอดกลีบแคบ ผลรูปแถบ (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)



เอกสารอ้างอิง

Nangngam, P. and J.F. Maxwell. (2013). (2013). Didymocarpus (Gesneriaceae) in Thailand. Gardens’ Bulletin Singapore 65(2): 213–214.