Index to botanical names
เทพธาโร
Apocynaceae
ไม้ล้มลุกหรือไม้เถา บางครั้งอวบน้ำ ส่วนต่าง ๆ ส่วนมากมียางใส มีหัวใต้ดิน ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้นๆ คล้ายช่อซี่ร่มหรือช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ใบเรียงตรงข้าม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แฉกลึก มีต่อมที่โคน กลีบดอกเชื่อมติดกัน โคนเป็นกระเปาะ เรียวคอดแคบ ปลายบานออก แยกเป็น 5 กลีบ ปลายมักเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ 5 อัน เชื่อมติดกันที่โคน แนบติดเส้าเกสรเพศเมีย (gynostegium) กะบังเรียง 2 ชั้น ชั้นนอกจักเป็น 5 พู เชื่อมติดกันรูปถ้วย บางครั้งพูแยก 2 แฉก กะบังวงในเรียวแคบ 5 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ มี 2 คาร์เพล ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน ผลเป็นฝักคู่ เมล็ดจำนวนมากสกุล Ceropegia อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Asclepioideae มีประมาณ 170 ชนิด ส่วนมากพบในแอฟริกา ในไทยมีมากกว่า 10 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “keros” เป็นไข และ “pege” แหล่งกำเนิด ตามลักษณะของดอกหรือต้นที่มีไข
ไม้เถา หัวใต้ดินกลม ๆ ขนาดเล็ก ใบรูปแถบ ยาว 5–15 ซม. เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ก้านใบสั้นมากหรือไร้ก้าน ช่อดอกมี 1–3 ดอก บานทีละดอก ก้านดอกยาว 0.5–1.2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปแถบ ยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอกยาว 4–7 ซม. หลอดกลีบดอกสีเขียวอ่อน มีปื้นและจุดประสีน้ำตาลกระจาย กลีบยาวเท่า ๆ หลอดกลีบ ปลายกลีบครึ่งบนสีแดงอมม่วง ด้านในมีขนยาวห่างๆ จรดโคนกลีบด้านใน ผลเป็นฝักยาวประมาณ 15 ซม. เมล็ดแบน กระจุกขน ยาว 3.5–4 ซม.พบที่อินเดีย พม่า ลาว และกัมพูชา ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูง 200–900 เมตร
เทพธาโร: ใบรูปแถบ ดอกออกตามซอกใบ โคนกลีบดอกเป็นกระเปาะ ปลายบานออกและเชื่อมติดกัน มีขน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Albers, F. and U. Meve (eds.). (2004). Illustrated handbook of succulent plants: Asclepiadaceae, Springer-Verlag Berlin Heidelberg.