Index to botanical names
ส้านเต่า1
Dilleniaceae
ไม้ล้มลุก มีเหง้า ลำต้นสั้น มีขนยาวหนาแน่นตามกิ่งและใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และกลีบเลี้ยงด้านนอก ใบเรียงเป็นกระจุก รูปไข่กลับ โคนเรียวแคบ ยาว 7–25 ซม. โคนเว้าเป็นติ่ง ขอบจักซี่ฟัน แผ่นใบมักเป็นรอยด่างขาวช่วงเส้นกลางใบ ก้านใบเป็นปีกโอบบาง ๆ ร่วงเร็ว ส่วนมากยาว 1–2 ซม. หรือยาวได้ถึง 6 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะออก ตามปลายกิ่ง ยาว 9–12 ซม. ดอกบานครั้งละหนึ่งดอก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. ก้านดอกยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนเรียวแคบ ยาว 1.5–2 ซม. ก้านดอกยาว 0.5–1.5 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูเรียวยาว ปลายมีรูเปิด มี 3 คาร์เพล ผลแตกแนวเดียว กลีบเลี้ยงหุ้มผล มี 2–6 เมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวพบที่พม่าตอนล่าง คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และภาคใต้ของไทย ขึ้นใกล้ลำธาร ตามป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตรสกุล Acrotrema Jack มีประมาณ 10 ชนิด พบที่อินเดียตอนใต้ 1 ชนิด ที่เหลือพบในศรีลังกา ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “akron” ยอด และ “trema” รู ตามลักษณะรูเปิดที่ปลายอับเรณู
ชื่ออื่น ปดขน (นครศรีธรรมราช); ปดดิน, มหาปราบ (ตรัง); ว่านชัย, ส้านเต่า (ชุมพร, ตรัง); ว่านชัยมหาปราบ (ภาคใต้)
ส้านเต่า: ใบเรียงเป็นกระจุก มักเป็นรอยด่างขาวช่วงเส้นกลางใบ โคนเว้าเป็นติ่ง ขอบจักซี่ฟัน ช่อดอกแบบช่อกระจะ มีขนหนาแน่น ดอกบานครั้งละหนึ่งดอก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Hoogland, R.D. (1972). Dilleniaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(1): 104–105.
Hoogland, R.D. (1951). Dilleniaceae. In Flora Malesiana Vol. 4: 151–152.