ไม้พุ่มเตี้ย ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 4–25 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 7–16 เส้น ก้านใบยาว 0.5–2 ซม. ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ่ง ยาว 4–11 ซม. ก้านช่อยาว 3–8 ซม. ดอกหนาแน่น ก้านดอกยาว 2–6.5 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 2–4 มม. ดอกสีขาว แดง ชมพู หรือสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว 1–2 ซม. มีขนรอบปากหลอด กลีบดอกรูปรี ยาว 2–5.5 มม. เกสรเพศผู้ติดเหนือโคนหลอดกลีบประมาณ 1 ซม. คาร์เพลเชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศเมียยาว 7–9.5 มม. รวมยอดเกสร ผลออกเป็นคู่ รูปไข่ ยาว 0.5–1 ซม.
พบที่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร
|
ชื่อพ้อง Ophioxylon serpentinum L.
|
|
ชื่อสามัญ Indian snakeroot, Sarpagandha
|
ชื่ออื่น กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); กะย่อม (ภาคใต้); เข็มแดง (ภาคเหนือ); คลาน, ตูมคลาน, มะโอ่งที (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ระย่อม (ภาคกลาง); สะมออู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
|
|
ระย่อม: ไม้พุ่มเตี้ย ใบเรียงรอบข้อ 3–5 ใบ ช่อดอกออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ่ง ดอกรูปดอกเข็ม หลอดกลีบดอกยาว (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|