สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ยาง

ยาง  สกุล
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus C.F.Gaertn.

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ส่วนมากสูง 30–40 ม. โคนมีพูพอนในชนิดที่ไม่ผลัดใบ เปลือกแตกเป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่องลึกในชนิดที่ผลัดใบ ส่วนมากมีขนรูปดาวสั้นนุ่มตามกิ่ง หูใบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และช่อดอก หูใบหุ้มตายอด ร่วงเร็ว ทิ้งรอยชัดเจน ใบเรียงเวียน พับจีบ เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน ส่วนมากตรงจรดขอบใบ เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกเรียงสลับไปมา ใบประดับขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบยาว 2 กลีบ กลีบสั้น 3 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก เรียงจรดกัน ดอกสีขาวมีปื้นสีชมพู มี 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก บิดเวียน ร่วงติดกัน เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 15–30 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น แผ่กว้างช่วงโคน อับเรณูมี 4 ช่อง รูปแถบ แกนอับเรณูยื่นเลยอับเรณูเล็กน้อยหรือยาวเท่า ๆ อับเรณู รังไข่ส่วนมากมีขนสั้นนุ่มจรดโคนก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นพูไม่ชัดเจน ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว กลม มักมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม หลอดกลีบเลี้ยงที่หุ้ม เรียบ เป็นสันหรือปีก โคนคอด กลีบเลี้ยง 2 อันขยายเป็นปีกยาว มีเส้นปีก 3 เส้น ปีกสั้น 3 อัน รูปรีกว้างหรือกลม

สกุล Dipterocarpus อยู่ภายใต้เผ่า Dipterocarpeae โคนกลีบเลี้ยงในผลเรียงจรดกัน ร่วมกับสกุล Anisoptera, Cotylelobium และ Vatica มีประมาณ 70 ชนิด พบที่ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยมี 17 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “dipteros” 2 ปีก และ “karpos” ผล หมายถึงผลมี 2 ปีก ส่วนมากเป็นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง น้ำมันยางใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท


ยาง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางเนิน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางเยือง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus baudii Korth.

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางขน

ยางเสียน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางยูง

ยางเสียน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus gracilis Blume

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ตาดอกมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น หูใบรูปแถบ ยาว 5–8 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 8–22 ซม. ปลายแหลมสั้นหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 12–18 เส้น ก้านใบยาว 2–4 ซม. ช่อดอกยาว 3–9 ซม. มี 2–6 ดอก ก้านดอกยาว 1–4 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. กลีบยาวยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้นยาว 2–3 มม. กลีบดอกยาว 4–5 ซม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาว 4–6 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว 1.5–1.8 ซม. ปีกยาวยาว 10–17 ซม. ปีกสั้นยาว 1.5–2 ซม. ขอบพับกลับเกือบจรดกัน

พบที่อินเดียรวมหมู่เกาะอันดามัน บังกลาเทศ พม่า กัมพูชา คาบสมุทรมลายู ชวา บอร์เนียว และฟิลิปปินส์ ในไทยพบทางภาคกลางและภาคตะวันออกที่เขาใหญ่ จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างชื้น และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร

ชื่ออื่น   ยางกล่อง (ตรัง); ยางตัง (ชุมพร); ยางวาด (นครศรีธรรมราช); ยางเสียน (สุราษฎร์ธานี, ยะลา); ยูง (พังงา); ยูงหัวแหวน (ระนอง)

ยางเสียน: หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ปีกสั้นขอบพับกลับ (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ยางเสียน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus chartaceus Symington

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางวาด

ยางเหียง
วันที่ 3 มกราคม 2561

Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.

Dipterocarpaceae

ดูที่ เหียง

ยางแข็ง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus retusus Blume

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น กิ่งมีขนสั้นนุ่ม หรือเกลี้ยง มีไข หูใบรูปใบหอกหรือรูปแถบ ยาว 9–13 ซม. ใบรูปรี ยาว 11–28 ซม. ปลายแหลมสั้น ๆ โคนรูปลิ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 16–21 เส้น เรียงจรดกันใกล้ขอบใบ แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3–7 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. มี 3–7 ดอก ก้านดอกยาว 2–4 มม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 1.3–1.5 ซม. กลีบยาวยาว 1–2.5 ซม. กลีบสั้นยาว 2–5 มม. กลีบดอกยาว 4–6.5 ซม. เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาว 7–8 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว 2.5–3 ซม. ปีกยาวยาว 12–25 ซม. ปีกสั้นยาว 1.5–2 ซม. ขอบพับกลับเล็กน้อย

พบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา และหมู่เกาะซุนดาน้อย ในไทยพบกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างชุ่มชื้น และป่าดิบชื้น ความสูง 700–1100 เมตร

ชื่ออื่น   เตียนกะฮอม (เขมร-จันทบุรี); ยางแข็ง (เพชรบูรณ์); ยางควน (ภาคใต้); ยางดง (นครราชสีมา)

ยางแข็ง: กิ่งและแผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบเรียงจรดกันใกล้ขอบใบ กลีบดอกบิดเวียน หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

ยางแดง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus baudii Korth.

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางขน

ยางแม่น้ำ
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางกราด
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus intricatus Dyer

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ผลัดใบ หูใบรูปรี ยาวประมาณ 1.5 ซม. ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 10–25 ซม. ปลายมนกลม โคนเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 10–15 เส้น เรียงจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว 2–5 ซม. ช่อดอกออกหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 10 ซม. ช่อแยกสองง่าม ยาว 7–10 ซม. มี 5–8 ดอก ก้านดอกยาว 1–2 มม. หลอดกลีบเลี้ยงมีครีบเป็นสัน 5 แนว พับไปมา กลีบยาวยาว 1.5–2 ซม. กลีบสั้นยาวประมาณ 3 มม. พับงอกลับ กลีบดอกยาว 3.5–4 ซม. ด้านนอกมีขนละเอียด เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาวประมาณ 4 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีครีบเป็นปีกกว้าง 3–4 มม. พับไปมา หลอดกลีบยาวประมาณ 2 ซม. ปีกยาวยาว 6–7 ซม. ปีกสั้นยาวประมาณ 1 ซม. ขอบงอกลับ

พบในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นหนาแน่นตามป่าเต็งรังและที่ราบที่เป็นหินทราย ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร

ชื่ออื่น   กราด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กร้าย (ส่วย-สุรินทร์); จิก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ชะแบง (สุรินทร์); ซาด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ตราย (เขมร, ส่วย-สุรินทร์); ตะแบง (สุรินทร์); ตาด (นครราชสีมา); ยางกราด (สระบุรี); ลาง (ชลบุรี); สะแบง (สุรินทร์); เหียงกราด (เพชรบูรณ์, ราชบุรี); เหียงขน (ทั่วไป); เหียงน้ำมัน (ราชบุรี); เหือง (ระยอง)

ยางกราด: โคนใบเว้าตื้น ช่อดอกแยกสองง่าม หลอดกลีบเลี้ยงมีครีบเป็นปีกพับไปมา (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)

ยางกล่อง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus baudii Korth.

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางขน

ยางกล่อง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus gracilis Blume

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางเสียน

ยางกุง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางขน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus baudii Korth.

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ส่วนต่าง ๆ มีขนกระจุกยาวสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ขนยาว 3–4 มม. หูใบรูปแถบ ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบรูปรีกว้าง ยาว 15–35 ซม. ปลายแหลมยาว โคนแหลม กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 12–18 เส้น ก้านใบยาว 3–6 ซม. ช่อดอกยาว 3–5 ซม. มี 3–6 ดอก ก้านดอกสั้นมาก หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. กลีบยาวยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบสั้นยาว 3–5 มม. กลีบดอกยาว 4–6 ซม. ด้านนอกมีขนรูปดาวสั้นประปราย เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาว 7–9 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว 2–2.5 ซม. ปีกยาวยาว 10–20 ซม. ปีกสั้นยาว 1.5–3 ซม. ปีกสั้นขอบพับกลับเล็กน้อย

พบที่พม่า กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู และสุมาตรา ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างชื้น และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 550 เมตร

ชื่ออื่น   ยางกล่อง (ตราด); ยางขน (จันทบุรี, ตราด); ยางแดง (ตรัง); ยางมดคัน (นครศรีธรรมราช); ยางเยือง (ภาคใต้); ยูงกระเบื้อง (ชุมพร); ยูงขน (จันทบุรี, ตราด); ยูงแดง, ยูงใบใหญ่ (ระนอง, สุราษฎร์ธานี); ยูงหัวแหวน (ระนอง); ยูงเหียง (ตรัง)

ยางขน: ส่วนต่าง ๆ มีขนกระจุกยาวสีน้ำตาลแดงหนาแน่น หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์, ราชันย์ ภู่มา)

ยางขาว
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางควน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus retusus Blume

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางแข็ง

ยางควาย
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางดง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus retusus Blume

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางแข็ง

ยางตัง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus chartaceus Symington

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางวาด

ยางตัง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus gracilis Blume

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางเสียน

ยางตัง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางตัง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางยูง

ยางนา
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ตายอดมีขนยาวหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง 10 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 9–24 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่มกว้าง กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 12–20 เส้น ก้านใบยาว 2–6 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ช่อแยกแขนงยาว 3–7 ซม. มี 3–5 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 1 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 ซม. กลีบยาวยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้นยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 3 ซม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาวประมาณ 8 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลยาว 3–4 ซม. มี 5 สัน เป็นปีกกว้าง 0.5–1 ซม. ปีกยาวยาว 8–13 ซม. ปีกสั้นยาวประมาณ 1 ซม. ขอบพับกลับ

พบที่อินเดียรวมหมู่เกาะอันดามัน ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนยกเว้นเวียดนามตอนบน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่ราบลุ่มริมลำธารหรือแม่น้ำในป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 500 เมตร

ชื่อพ้อง  Dipterocarpus philippinensis Foxw.

ชื่อสามัญ  Yang

ชื่ออื่น   กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี); ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา); จ้อง (กะเหรี่ยง); จะเตียล (เขมร); ชันนา (ชุมพร); ทองหลัก (ละว้า); ยาง (ทั่วไป); ยางกุง (เลย); ยางขาว (ทั่วไป); ยางควาย (หนองคาย); ยางตัง (ชุมพร); ยางนา (ทั่วไป); ยางเนิน (จันทบุรี); ยางแม่น้ำ, ยางหยวก (ทั่วไป); ราลอย (ส่วย-สุรินทร์); ลอย (โซ่-นครพนม)

ยางนา: ตายอดมีขนหนาแน่น โคนใบเว้าตื้น หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีสันครีบคล้ายปีก 5 สัน (ภาพ: ปิยชาติ ไตรสารศรี, ปรีชา การะเกตุ)

ยางบูเก๊ะ
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus acutangulus Vesque

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น กิ่งและใบแก่เกือบเกลี้ยง หูใบยาวได้ถึง 1.3 ซม. ด้านนอกมีขน ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 7–14 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือมน เส้นแขนงใบข้างละ 10–13 เส้น ก้านใบยาว 1.5–3 ซม. ช่อดอกยาว 3.5–6 ซม. ก้านดอกยาว 3–5 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 7–8 มม. ด้านในมีขนสั้นนุ่ม กลีบยาวยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้นยาว 3–4 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 3.5 ซม. เกสรเพศผู้ 15 อัน ก้านชูอับเรณูยาวเท่า ๆ อับเรณู ยาวประมาณ 5 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีสันตื้น ๆ 5 สัน ยาว 2.5–3 ซม. ปีกยาวยาว 10–14 ซม. ปีกสั้นยาวประมาณ 5 มม. ขอบพับงอกลับ

พบที่คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว และภาคใต้ตอนล่างของไทยพบที่ยะลา ขึ้นตามสันเขาในป่าดิบชื้น ความสูง 600–1000 เมตร

ยางบูเก๊ะ: กิ่งและใบแก่เกือบเกลี้ยง หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีสันตื้น ๆ 5 สัน (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ยางมดคัน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus baudii Korth.

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางขน

ยางมันข้น
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus chartaceus Symington

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางวาด

ยางมันหมู
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางยูง

ยางมันหมู
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus chartaceus Symington

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางวาด

ยางยูง
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น กิ่งเกลี้ยง มีไข ตายอดมีขนกระจุกสั้นนุ่มหนาแน่น หูใบรูปขอบขนาน ยาว 2–9 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 10–25 ซม. ปลายแหลมสั้น โคนมนหรือเว้าตื้น แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 10–18 เส้น ก้านใบยาว 4–8 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 18 ซม. มี 2–5 ดอก เรียงห่าง ๆ ก้านดอกยาว 2–4 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1.2–1.5 ซม. กลีบยาวยาว 2.5–3.5 ซม. กลีบสั้นยาวประมาณ 5 มม. กลีบดอกรูปใบหอก ยาว 3–5 ซม. ด้านนอกมีขนละเอียด เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาว 0.8–1 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลยาว 4–7 ซม. มีสันครีบ 5 สัน เป็นปีกกว้าง 1–1.5 ซม. ปีกยาวยาว 14–20 ซม. ปีกสั้นยาวประมาณ 2 ซม. พับงอกลับเล็กน้อย

พบที่อินเดียรวมหมู่เกาะอันดามัน พม่า เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และฟิลิปปินส์ ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่บึงกาฬ นครพนม และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 600 เมตร

ชื่อพ้อง  Mocanera grandiflora Blanco

ชื่ออื่น   ยางตัง (ภาคใต้); ยางมันหมู (ตรัง); ยางยูง (ภาคใต้); ยางเสียน (ระนอง); ยางหัวแหวน (นครศรีธรรมราช); ยูง (ภาคใต้)

ยางยูง: กิ่งเกลี้ยง มีไข แผ่นใบเกลี้ยง ช่อดอกยาว ดอกเรียงห่าง ๆ หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีสันครีบ 5 สัน เป็นปีกกว้าง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ยางวาด
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus gracilis Blume

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางเสียน

ยางวาด
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus chartaceus Symington

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น ตายอดมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง 8 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 8–13 ซม. ปลายแหลม โคนรูปลิ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 10–15 เส้น ก้านใบยาว 2–3 ซม. ใบแห้งสีน้ำตาลแดง ช่อดอกยาว 2–6 ซม. มี 3–6 ดอก ก้านดอกสั้น หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1.5–2 ซม. กลีบยาวยาว 1–1.5 ซม. กลีบสั้นยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกรูปใบหอก ยาวประมาณ 2.5 ซม. ด้านนอกมีขนกระจุกละเอียด เกสรเพศผู้ 30 อัน อับเรณูยาวประมาณ 5 มม. หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว 2–2.5 ซม. ปีกยาวยาว 8–13 ซม. ปีกสั้นยาว 4–5 มม. ขอบพับกลับ

พบที่คาบสมุทรมลายูและภาคใต้ของไทย ขึ้นตามป่าดิบชื้นโดยเฉพาะใกล้ชายฝั่งทะเล และป่าชายหาด ความสูงไม่เกิน 100 เมตร

ชื่ออื่น   ยางตัง (ชุมพร); ยางมันข้น (สงขลา); ยางมันหมู (นราธิวาส); ยางวาด (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี); ยางเสียน (สุราษฎร์ธานี)

ยางวาด: หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ยางหนู
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560

Vatica odorata (Griff.) Symington

Dipterocarpaceae

ดูที่ พันจำ

ยางหยวก
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางนา

ยางหยวก
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560

Shorea roxburghii G.Don

Dipterocarpaceae

ดูที่ พะยอม

ยางหัวแหวน
วันที่ 28 เมษายน 2560

Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco

Dipterocarpaceae

ดูที่ ยางยูง

ยาง
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560

Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

Dipterocarpaceae

ดูที่ พลวง

ยางพลวง
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560

Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

Dipterocarpaceae

ดูที่ พลวง



เอกสารอ้างอิง

Ashton, P. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 291–326.

Li, X.W., J. Li and P.S. Ashton. (2007). Dipterocarpaceae in Flora of China Vol. 13: 48–49.

Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 119–140.

Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam 25: 16–45.