Index to botanical names
มังเคร่
Melastomataceae
ไม้พุ่ม สูง 1–5 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยม มีขนแข็งเอนตามกิ่ง แผ่นใบทั้งสองด้าน ก้านดอก และฐานดอก ใบรูปใบหอก ยาว 8–20 ซม. ปลายแหลมยาว โคนแหลมหรือกลม เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น ก้านใบยาว 0.8–2 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจุก 1–3 ดอก ใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 1 ซม. ด้านนอกเป็นเกล็ด ฐานดอกยาว 1–1.5 ซม. ขนยาว 0.6–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว 0.6–1 ซม. ขอบมีขนครุย ดอกสีม่วงอมชมพู กลีบรูปไข่กลับ ยาว 2–4.5 ซม. เกสรเพศผู้วงนอกอับเรณูยาว 1.2–1.5 ซม. สีม่วง รยางค์โค้งงอ ยาว 1.6–1.8 ซม. วงในอับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. สีม่วงหรือสีเหลือง รยางค์สั้น รังไข่ปลายมีขนแข็ง ผลรูประฆัง ยาว 1.5–2.5 ซม. แตกไม่เป็นระเบียบ เนื้อในสีเหลือง (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ โคลงเคลง, สกุล)พบที่จีนตอนใต้ พม่า คาบสมุทรมลายู สุมาตรา บอร์เนียว ชวา ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามพื้นที่เป็นหินหรือดินทรายริมลำธาร ในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร คล้ายกับโคลงเคลง M. malabathricum L. ที่ฐานดอกมีเกล็ดแบนราบ
ชื่ออื่น กะดูดุ (มาเลย์-สงขลา); โคลงเคลง (ทั่วไป); โคลงเคลงช้าง (นราธิวาส); เบร้ช้าง, มังเคร่ขน, มังเคร่ช้าง, เมรีช้าง (ภาคใต้); อี้สี่ (มูเซอ-เชียงใหม่)
มังเคร่ช้าง: ใบเรียงตรงข้าม เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น ดอกออกเป็นช่อกระจุก ฐานดอกรูปถ้วยมีขนแข็งเอนกระจาย เกสรเพศผู้มีสองขนาด (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 447.