Index to botanical names
มะแตก
Celastraceae
ไม้เถามีเนื้อไม้ แยกเพศต่างต้น ลำต้นและกิ่งเป็นริ้ว มีช่องอากาศ มีขนสั้นนุ่ม หูใบขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 6–15 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว บางครั้งมนหรือเว้าตื้น โคนรูปลิ่ม มน หรือกลม ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมน ก้านใบยาว 0.5–2 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 20 ซม. ดอกจำนวนมาก ก้านดอกยาว 1.5–3.5 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปกลม ยาวประมาณ 1 มม. ดอกสีเขียวอ่อน มี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 2.5–3 มม. จานฐานดอกรูปถ้วย เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวประมาณ 3 มม. ติดบนขอบจานฐานดอก เป็นหมันในดอกเพศเมีย รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด ลดรูปในดอกเพศผู้ ก้านเกสรเพศเมียเป็นแท่ง ยอดเกสรแยก 3 พู ติดทน ผลแห้งแตก รูปรีเกือบกลม ยาว 0.5–1 ซม. แตกเป็น 3 ส่วน มี 3–6 เมล็ด รูปรี ยาว 3.5–5 มม. เยื่อหุ้มสีส้มแดงพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร ในจีนน้ำมันที่ได้จากเมล็ดใช้ทำน้ำมันตะเกียงและสบู่ และกำลังได้รับการศึกษาสรรพคุณทางสมุนไพรในการรักษาโรคทางประสาทสกุล Celastrus L. มีประมาณ 30 ชนิด พบในอเมริกา มาดากัสการ์ เอเชีย และออสเตรเลีย แต่ส่วนใหญ่พบในประเทศจีน ในไทยมี 5 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kelastros” หมายถึงพืชที่มีผลสีแดงใช้ประดับในเทศกาลศาสนาคริสต์
ชื่ออื่น กระทงลาย, กระทุงลาย, โชด (ภาคกลาง); นางแตก (นครราชสีมา); มะแตก, มะแตกเครือ, มักแตก (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
มะแตก: ใบเรียงเวียน ขอบจักฟันเลื่อย ผลแห้งแตกเป็น 3 ส่วน เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีส้มแดง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Phyllanthaceae
Passifloraceae
Hou, D., I.A. Savinov and P.C. van Welzen. (2010). Celastraceae. In Flora of Thailand Vol. 10(2): 151.
Zhang, Z. and M. Funston. (2008). Celastraceae (Celastrus). In Flora of China Vol. 11: 467.