Index to botanical names
มณีจันทร์
Gesneriaceae
ไม้พุ่ม อิงอาศัย สูงได้ถึง 1 ม. ใบเรียงตรงข้ามหรือรอบข้อ รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 4–20 ซม. ปลายมนหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือกลม ขอบมักจักฟันเลื่อยหรือจักซี่ฟัน ก้านใบยาวได้กว่า 20 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกตามซอกใบ ก้านช่อยาว 3–17 ซม. ใบประดับเรียงตรงข้าม รูปไข่ ยาว 0.3–1 ซม. ก้านดอกยาว 0.3–1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจรดโคน รูปขอบขนาน ยาว 4–8 มม. ดอกสีม่วงอ่อน หลอดกลีบดอกยาว 2.5–4.5 ซม. ป่องช่วงปลาย ด้านนอกมีขนละเอียด โคนด้านในมีขนต่อมประปราย กลีบรูปรีกว้าง กลีบคู่บนยาวประมาณ 4 มม. กลีบล่าง 3 กลีบ ยาว 0.8–1 ซม. เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดประมาณกึ่งกลางหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาว 0.7–1 ซม. อับเรณูติดที่โคน ปลายมีรยางค์คล้ายเขา ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่เกลี้ยง ผลแห้งแตก รูปแถบ ยาว 3–11 ซม. เมล็ดยาวประมาณ 1 มม. มีขนที่ปลายทั้งสองด้าน 1 เส้นพบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า จีนตอนใต้ เวียดนามตอนบน ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามคบไม้หรือบนหินปูนในป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร แยกเป็น var. pterocaulis C.Y.Wu ex W.T.Wang ลำต้นมีเหลี่ยมเป็นปีก พบที่จีนและเวียดนามสกุล Lysionotus D.Don มีประมาณ 25 ชนิด ส่วนมากพบในจีน ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “lysis” ปล่อย และ “notos” สีดำ หมายถึงการแตกของผล
มณีจันทร์: ช่อดอกแบบช่อกระจุก โคนหลอดกลีบดอกเรียวแคบครึ่งล่าง ช่วงปลายป่อง กลีบเลี้ยงแยกจรดโคน ติดทน ผลรูปแถบ (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, Martin van de Bult)
Wang, W., K.Y. Pan, Z.Y. Li, A.L. Weitzman and L.E. Skog. (1998). Gesneriaceae. In Flora of China Vol. 18: 392.