Index to botanical names
พยับเมฆ
Lamiaceae
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2.5 ม. รากอวบหนา ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่ แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง 12 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาวได้ถึง 3 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกไร้ก้านเรียงเป็นวงรอบแกนช่อ แต่ละใบประดับมี 2–3 ดอก ใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 5 มม. ติดทน ก้านดอกยาว 3–5 มม. ขยายในผลเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงรูปปากเปิด ยาว 3–8 มม. ขยายในผล มีขนสั้นนุ่ม กลีบบนกลม สั้นกว่ากลีบล่าง กลีบล่างแยก 4 แฉกตื้น ๆ ปลายแหลมยาว ดอกสีม่วงอ่อน รูปปากเปิด ยาว 1.2–3.5 ซม. หลอดกลีบดอกยาว 1–2 ซม. กลีบรูปขอบขนาน กลีบบน 3 กลีบ กลีบกลางเว้าตื้น กลีบล่าง 2 กลีบ เกสรเพศผู้สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยื่นพ้นหลอดกลีบดอก จานฐานดอกจัก 4 พู เกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลย่อยเปลือกแข็ง รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 มม. ผิวเป็นร่างแหพบที่พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ แยกเป็น var. velteri Suddee & A. J. Paton พบที่เวียดนาม ก้านใบสั้นมากหรือไร้ก้าน ใบมีสรรพคุณขับปัสสาวะ แก้โรคไต ปวดตามข้อสกุล Orthosiphon Benth. อยู่ภายใต้เผ่า Ocimeae มีประมาณ 45 ชนิด พบในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ในไทยมีประมาณ 7 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “orthos” ตั้งตรง และ “sifon” หลอดกลีบดอก ตามลักษณะหลอดกลีบดอก
ชื่อพ้อง Ocimum aristatum Blume
ชื่อสามัญ Cat’s whiskers, Java tea
ชื่ออื่น บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์); พยับเมฆ (กรุงเทพฯ); หญ้าหนวดแมว (ทั่วไป); อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
พยับเมฆ: ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกไร้ก้านเรียงรอบแกนช่อ ดอกรูปปากเปิด เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Suddee, S., A.J, Paton and J. Parnell. (2005). Taxonomic revision of the tribe Ocimeae Dumort. (Lamiaceae) in continental South East Asia III. Ociminae. Kew Bulletin 60: 3–75.