Index to botanical names
ฝอยทองมาเลย์
Hamamelidaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. กิ่งช่วงปลายมีขนกระจุกสั้นนุ่ม หูใบขนาดเล็กมีขนสั้นนุ่ม ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 7–25 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมนหรือกลม ก้านใบยาว 1.2–2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อยาวได้ถึง 1 ซม. มีได้ประมาณ 15 ดอก เกือบไร้ก้าน กลีบเลี้ยงขนาดเล็กร่วงเร็วก่อนดอกบาน กลีบดอก 5 กลีบ รูปแถบ ยาว 0.8–1.2 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดระหว่างกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น แกนอับเรณูปลายโค้งคล้ายเขา เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 5 อัน ยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ จานฐานดอกจัก 10 พู แยกกัน รังไข่กึ่งใต้วงกลีบมีขนยาว มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน สั้น ๆ ยอดเกสรแหลม ผลแห้งแตกแยกกันประมาณกึ่งหนึ่งเป็น 4 ส่วน ติดทนบนต้น รูปรี ยาว 1–1.5 ซม. ก้านหนา ผนังแข็ง เมล็ดรูปรีแคบ สีขาวพบที่คาบสมุทรมลายูตอนบน และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่เบตง จังหวัดยะลา ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูงประมาณ 900 เมตรสกุล Maingaya Oliv. มีเพียงชนิดเดียว เป็นสกุลที่พบใหม่ของไทย ทำให้พืชวงศ์ Hamamelidaceae ของไทยมีเพิ่มเป็น 6 สกุล ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ Alexander Carroll Maingay (1836–1869)
ฝอยทองมาเลย์: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น มีได้ประมาณ 15 ดอก เกือบไร้ก้าน กลีบดอก 5 กลีบ รูปแถบ (ภาพ: วรดลต์ แจ่มจำรูญ )
Chamchumroon, V., M. Poopath and J. Sae Wai. (2015). Maingaya malayana, a new genus and species record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 43: 1–3.