ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 3–10 ม. มีขนรูปดาวละเอียดตามหูใบ โคนใบ ริ้วประดับ กลีบเลี้ยง และโคนกลีบดอก หูใบคล้ายใบ รูปขอบขนาน ยาว 1–3 ซม. ใบรูปไข่กว้างเกือบกลม ยาว 6–15 ซม. ปลายแหลมสั้น โคนรูปหัวใจ เส้นโคนใบ 7 หรือ 9 เส้น ดอกส่วนมากออกเดี่ยว ๆ หรือออกชิดกันที่ปลายกิ่งซึ่งใบมักลดรูปดูคล้ายเป็นช่อ ก้านดอกยาว 1–3 ซม. ใบประดับคล้ายหูใบ มี 1 คู่ ก้านดอกยาว 1–3 ซม. ริ้วประดับส่วนมากมี 8–12 อัน เชื่อมติดกันเกินกึ่งหนึ่ง รูปสามเหลี่ยม ส่วนมากยาว 1–6 มม. กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 1.5–2 ซม. เชื่อมติดกันประมาณหนึ่งในสาม ดอกรูประฆัง สีเหลือง โคนด้านในมีปื้นสีม่วงเข้ม กลีบรูปไข่กลับ ยาว 4–6 ซม. หลอดเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 ซม. ก้านชูอับเรณูสั้น ก้านเกสรเพศเมียมีขนต่อมทั่วไป ผลรูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 1.5–2 ซม. มีขนหยาบแข็งยาวหนาแน่น(ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ชบา, สกุล)
พบที่อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าโกงกาง และชายฝั่งทะเล ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง และนิยมเป็นไม้ประดับ ใบและดอกมักมีขนาดเล็กกว่าต้นในธรรมชาติ
|
ชื่อพ้อง Talipariti tiliaceum (L.) Fryxell
|
|
ชื่อสามัญ Cottonwood Hibiscus, Sea Hibiscus
|
ชื่ออื่น บา (จันทบุรี); ขมิ้นนางมัทรี (เลย); ปอทะเล (ภาคกลาง); ปอนา (ภาคใต้); ปอฝ้าย (ภาคกลาง); ผีหยิก (เลย); โพทะเล (กรุงเทพฯ)
|
|
ปอทะเล: ริ้วประดับเชื่อมติดกันเกินกึ่งหนึ่ง โคนดอกด้านในสีเข้ม ผลแตกเป็น 5 ซีก(ปรีชา การะเกตุ, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, ราชันย์ ภู่มา)
|
|