Index to botanical names
นางอั้ว
Orchidaceae
กล้วยไม้ดินมีหัว โคนใบแผ่เป็นกาบ มี 2–14 ใบ โคนเป็นกาบ ไร้ก้าน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ใบประดับรูปเรือ ขนาดเล็กกว่าใบ ดอกพลิกกลับ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ แยกกัน กลีบปากเชื่อมติดเส้าเกสรแคบ ๆ เรียบ จัก 3 พู หรือคล้ายรูปพัด มีเดือย 1 อัน เส้าเกสรแบนหุ้มเกสรเพศเมีย ปลายแยก 2 พู เรียงชิดกัน ปลายจงอยแผ่กว้าง มีต่อมเหนียว 2 ต่อม โคนยื่นออก กลุ่มเรณู 2 กลุ่ม รังไข่เกลี้ยงสกุล Pecteilis อยู่ในวงศ์ย่อย Orchidoideae เผ่า Orchideae มีประมาณ 7 ชนิด พบเฉพาะในเอเชียเขตร้อน และญี่ปุ่น ในไทยมี 3 ชนิด อีก 2 ชนิดคือ P. henryi Schltr. นางอั้วสาคริก P. hawkesiana (King & Pantl.) C. S. Kumar ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “pectinis” หวี ตามลักษณะกลีบปากจักชายครุยลึกในบางชนิด
กล้วยไม้ดิน สูงได้ถึง 1.5 ม. หัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบเรียงเวียนรอบลำต้น 6–10 ใบ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 4–18 ซม. แกนช่อยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านช่อยาว 20–50 ซม. มี 2–10 ดอก ใบประดับคล้ายใบ ยาว 3.5–8.5 ซม. ดอกสีเขียวอมขาวหรืออมเหลือง กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กว้าง ยาว 2–3 ซม. กลีบคู่ข้างแคบและยาวกว่าเล็กน้อย กลีบดอกรูปใบหอก ยาว 0.7–1.3 ซม. กลีบปากแยก 3 พู พูข้างกางออก รูปพัด ยาว 2–3.5 ซม. ขอบจักชายครุยลึก พูกลางรูปใบหอกถึงรูปแถบ ยาว 3–4.5 ซม. เดือยโค้ง ยาว 7–15.5 ซม. เส้าเกสรยาว 1–1.3 ซม. รังไข่รวมก้านดอกยาว 2.5–6 ซม.พบที่อินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา ติมอร์ ซูลาเวซี และโมลุกกะ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามทุ่งหญ้า ชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตร
ชื่อพ้อง Orchis susannae L.
ชื่ออื่น นางกราย (นางอั้ว); นางอั้ว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); พอเจพะดู่, พอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ว่านนะราช, ว่านนาคราช (สุราษฎร์ธานี); เอื้องตีนกบ, เอื้องนางก๋าย, เอื้องเสาวนา (ภาคเหนือ)
นางอั้ว: ช่อดอกแบบช่อกระจะ ใบประดับคล้ายใบขนาดเล็กกว่าใบ กลีบปากแยก 3 พู พูข้างกางออก ขอบจัก ชายครุยลึก พูกลางรูปใบหอกถึงรูปแถบ เดือยโค้ง ยาว (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
กล้วยไม้ดิน หัวใต้ดินรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. ใบเรียงเวียนที่โคนมี 2–6 ใบ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 3–15 ซม. ปลายใบมีติ่งแหลม แกนช่อดอกยาว 2–17 ซม. ก้านช่อยาว 6–9 ซม. มีได้ถึง 17 ดอก ใบประดับยาว 1–6.5 ซม. ดอกสีขาวหรือเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงบนรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1.5–2.5 ซม. กลีบคู่ข้างรูปขอบขนาน บิดเล็กน้อย ยาวเท่า ๆ กลีบบน กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 1.7–2 ซม. กลีบปากรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ยาว 1.8–2.5 ซม. มีสีเหลืองแต้มด้านใน เดือยรูปกระบอง ยาว 3.5–4.5 ซม. เส้าเกสรยาว 0.7–1 ซม. รังไข่รวมก้านดอกยาว 1.4–2.8 ซม.พบที่พม่า ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร
ชื่อพ้อง Habenaria hawkesiana King & Pantl., Pecteilis sagarikii Seidenf.
นางอั้วสาคริก: ช่อดอกแบบช่อกระจะ ใบประดับรูปเรือ กลีบปากรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม มีสีเหลืองแต้มด้านใน เดือยรูปกระบอง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, อ้อพร เผือกคล้าย)
Fabaceae
Pedersen, H.Æ. (2011). Orchidaceae (Pecteilis). In Flora of Thailand Vol. 12(1): 216–221.