สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ทิ้งทองหู

ทิ้งทองหู
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559

Aeschynanthus radicans Jack

Gesneriaceae

ไม้เลื้อยอิงอาศัย มีขนตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก ใบเรียงตรงข้าม รูปรีกว้าง ยาว 1–5 ซม. ก้านใบยาว 1–5 มม. ช่อดอก มี 1–3 ดอก ก้านช่อสั้น ใบประดับรูปไข่ ยาว 5–6 มม. ก้านดอกยาว 0.7–1.4 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน 1.3–2 ซม. กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 2–8 มม. ดอกสีแดงสด ด้านในสีเหลืองแซม หลอดกลีบดอกยาว 4.7–5.8 ซม. กลีบคู่บนยาว 0.6–1 ซม. แฉกลึก กลีบล่างยาว 0.7–1 ซม. เกสรเพศผู้คู่หน้ายาว 2.2–2.4 ซม. รังไข่มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.6–1.5 ซม. มีขนและต่อม ฝักเรียวยาว 19–35 ซม. เมล็ดยาวได้ถึง 1 ซม. รยางค์ยาว 6–8 มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ว่านไก่แดง, สกุล) พบที่คาบสมุทรมลายู ชวา สุมาตรา และบอร์เนียว ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบชื้น ความสูง 100–900 เมตร คล้ายกับ ไก่แดงย่าน A. pulcher (Blume) G.Don ที่แผ่นใบด้านล่างเกลี้ยง และรังไข่มีปุ่มกระจายแต่ไม่มีขนสั้นนุ่ม

ชื่ออื่น   ทิ้งทองหู (นครศรีธรรมราช); นมเมีย (ตรัง)

ทิ้งทองหู: ไม้เลื้อยอิงอาศัย ใบเรียงตรงข้าม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกด้านในมีสีเหลืองแซม ฝักเรียวยาว (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)



เอกสารอ้างอิง

Middleton, D.J. (2007). A revision of Aeschynanthus (Gesneriaceae) in Thailand. Edinburgh Journal of Botany 64(3): 414–418.