Index to botanical names
ทังหลังขาว
Arecaceae
ปาล์มลำต้นเดี่ยว แยกเพศต่างต้น สูง 1–4 ม. หรืออาจสูงได้ถึง 10 ม. ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลาง 18–25 ซม. ใบรูปฝ่ามือ เรียงหนาแน่นที่ยอด เส้นผ่านศูนย์กลางยาวได้ถึง 2 ม. กาบใบยาว 45–60 ซม. แผ่นใบพับจีบ มีได้ถึงกว่า 100 จีบ แฉกลึกน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง แผ่นใบด้านล่างมีนวล ก้านใบยาว 1.5–3 ม. ขอบคม โคนก้านไม่มีเส้นใย ช่อดอกออกที่ซอกใบ แยกแขนงจำนวนมาก ช่อดอกเพศผู้โค้งลง แกนช่อยาว 15–20 ซม. ก้านช่อยาวได้ถึง 30 ซม. ช่อแขนงยาว 10–15 ซม. แขนงย่อยจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 3 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมติดกันที่โคน ไม่มีเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง แกนช่อยาว 35–40 ซม. ก้านช่อยาวได้ถึง 30 ซม. ช่อแขนงยาวได้ถึง 12 ซม. ดอกยาว 5–6 มม. มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน มี 6 อัน ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5–5 ซม. สุกสีส้ม ผิวมีตุ่ม เนื้อสีขาวนุ่ม มี 1–2 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5–3 ซม.พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคใต้ที่เขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต และเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นตามที่ลาดชัน และหุบเขาใกล้ลำธาร ความสูงระดับต่ำ ๆสกุล Kerriodoxa J.Dransf. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Coryphoideae มีชนิดเดียว ชื่อสกุลตั้งตามนายแพทย์ชาวไอริช Arthur Francis George Kerr (1877–1942) ผู้บุกเบิกการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในไทย และผู้ก่อตั้งหอพรรณไม้แห่งแรกของไทย หรือพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร (BK) ในปัจจุบัน
ชื่อสามัญ King Thai palm, White elephant palm
ชื่ออื่น เจ้าเมืองถลาง (ภาคกลาง); ชิงหลังขาว, ทังหลังขาว (Phuket); พระยาถลาง (ภาคกลาง)
ทังหลังขาว: ปาล์มลำต้นเดี่ยว ใบรูปฝ่ามือ แผ่นใบพับเป็นจีบ แฉกลึก แผ่นใบด้านล่างมีนวล ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ช่อผลตั้งขึ้น (ราชันย์ ภู่มา)
Barfod, A.S. and J. Dransfield. (2013). Arecaceae. In Flora of Thailand Vol. 11(3): 422–425.
Dransfield, J. (1983). Kerriodoxa, a new Coryphoid palm genus from Thailand. Principes. Vol. 27(1): 3–11.