Index to botanical names
ต่างไก่
Polygalaceae
ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเรียงเวียน ช่อดอกแบบช่อกระจะ ห้อยลงหรือตั้งขึ้น ใบประดับส่วนมากมี 3 ใบ ส่วนมากร่วงเร็ว ไม่มีใบประดับย่อย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบนอก 3 กลีบ ขนาดเล็กกว่ากลีบคู่ในที่คล้ายกลีบดอก (alae) กลีบดอก 3 กลีบ กลีบบน 2 กลีบ เชื่อมติดกัน กลีบล่าง (keel) รูปเรือ หุ้มอับเรณูและยอดเกสรเพศเมีย ปลายกลีบจัก 2 พู มีรยางค์คล้ายแปรง เกสรเพศผู้ 8 อัน เชื่อมติดกันเป็นแผ่น เชื่อมติดกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายโค้ง ยอดเกสรจักเป็นพู ผลแห้งแตก แบน ขอบเป็นปีก มี 2 เมล็ด ส่วนมากสีดำ มีเยื่อหุ้ม ปลายบางครั้งมีรยางค์กลวง (strophiole)สกุล Polygala มีประมาณ 500 ชนิด ส่วนมากพบในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และแอฟริกาทางตอนใต้ ในไทยมี 17 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “polys” มาก และ “gala” น้ำนม หมายถึงพืชพวก milkwort ที่เพิ่มน้ำนมให้สัตว์เลี้ยง
Malvaceae
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 60 ซม. มีขนหนาแน่นตามกิ่ง ใบ และช่อดอก ใบรูปขอบขนานถึงรูปแถบ แกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 1–7 ซม. ก้านใบยาว 1–2 มม. ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบ ใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 0.5 มม. ก้านดอกยาว 0.5–1.5 มม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบนอกรูปไข่ คู่ล่างยาว 1.5–2 มม. กลีบบนยาว 2–2.8 มม. คู่ในรูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว 4.2–7 มม. ขอบมีขนครุย ดอกสีขาวอมเขียวหรืออมชมพู ยาว 3.5–4.5 มม. กลีบคู่บนรูปใบพาย ยาว 3.2–5 มม. กลีบล่างยาวกว่าคู่บนเล็กน้อย รยางค์ยาว 2–2.5 มม. แผ่นเกสรเพศผู้ยาวเท่า ๆ กลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียยาว 3.5–5.5 มม. ปลายโค้ง ผลรูปกลมกว้าง ปลายเว้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5–4.5 มม. มีขนประปราย เยื่อหุ้มเมล็ดจัก 3 พูพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร มีความผันแปรสูง คล้ายกับต่างไก่แจ้ P. polifolia C.Presl ดอกสีน้ำเงิน เกสรเพศผู้ยาวไม่เท่ากัน เชื่อมติดกัน 3 มัด ใบมีสรรพคุณลดการอักเสบ รากแก้ภูมิแพ้
ชื่ออื่น คำเตี้ย (เลย); ต่างไก่เตี้ย, ปีกไก่ดำ (ทั่วไป)
ต่างไก่เตี้ย: ช่อดอกออกสั้น ๆ ดอกสีขาวอมเขียว กลีบล่างปลายมีรยางค์คล้ายแปรง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. ใบรูปขอบขนาน ยาว 2–13 ซม. แผ่นใบด้านล่างมักมีนวล ก้านใบยาว 0.7–1.5 ซม. ช่อดอกห้อยลง ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุก ยาว 2–14 ซม. ใบประดับยาว 0.3–1 ซม. ก้านดอกยาว 2.5–4.5 มม. กลีบเลี้ยงนอกคู่ล่างรูปขอบขนาน ยาว 2.5–3 มม. กลีบบนรูปเรือ ยาว 4–6 มม. คู่ในรูปไข่กลับแกมรูปคุ่ม ยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกสีขาวอมเหลือง หรือม่วง ยาว 1.5–2 ซม. กลีบคู่บนยาว 1.4–2 ซม. กลีบล่างยาวเท่า ๆ คู่บน รยางค์มี 4–8 พู ยาวประมาณ 2 มม. แผ่นเกสรเพศผู้ยาวเท่า ๆ กลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1.7–2 ซม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 8–9 มม. เว้าตื้น ผิวเรียบ เยื่อหุ้มเมล็ดจักเป็นพูพบที่ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ เชียงราย ภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี และภาคใต้ที่ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูง 900–2300 เมตร
ชื่ออื่น ต่างไก่เถื่อน, บันดงเหลือง (เลย)
ต่างไก่เถื่อน: ใบรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงกลีบบนรูปเรือ ดอกสีขาวอมเหลือง หรือม่วง กลีบล่างปลายมีรยางค์ 4–8 พู ผลผิวเรียบ (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 15–34 ซม. ก้านใบยาว 1.5–2 ซม. ช่อดอกห้อยลง ยาว 5–15 ซม. ใบประดับยาวประมาณ 2.5 มม. ดอกเรียงหนาแน่น แกนกลางช่อบวม ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. หักงอขึ้น กลีบเลี้ยงนอกคู่ล่างรูปไข่กว้าง ยาว 3–3.5 มม. กลีบบนเป็นถุง ยาวประมาณ 8.5 มม. คู่ในรูปคุ่ม ยาว 1.2–1.7 ซม. ขอบมีขนครุย ดอกสีขาวมีสีม่วงชมพูแซม ยาว 1–1.5 ซม. กลีบคู่บนยาว 1.1–1.4 ซม. กลีบล่างยาวเท่า ๆ คู่บน ปลายจัก 2 พู หนา รยางค์ยาวประมาณ 4 มม. แผ่นเกสรเพศผู้ยาวเท่า ๆ กลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียยาว 1–1.2 ซม. ปลายโค้ง ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.1–1.3 ซม. ปลายเว้าตื้น ผิวมีริ้วเป็นสัน เยื่อหุ้มเมล็ดประมาณกึ่งหนึ่ง สีส้มพบที่คาบสมุทรมลายู ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทยที่พังงา สตูล พัทลุง ยะลา ขึ้นตามที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ความสูง 400–900 เมตร
ต่างไก่ใต้: ช่อดอกห้อยลง ดอกเรียงหนาแน่น แกนกลางช่อบวม ก้านดอกยาว หักงอขึ้น ผลปลายเว้าตื้น ผิวมีริ้วเป็นสัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 5–18 ซม. ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. ช่อตั้งขึ้นหรือห้อยลง ยาวได้ถึง 20 ซม. ใบประดับยาวได้ถึง 2.8 มม. ก้านดอกยาว 4–5 มม. กลีบเลี้ยงนอกคู่ล่างรูปขอบขนาน ยาว 3.5–4.5 มม. กลีบบนเป็นถุง ยาว 6–8 มม. คู่ในรูปคุ่มแกมรูปไข่กลับ ยาว 1.1–1.4 ซม. ขอบมีขนครุย ส่วนมากดอกสีเหลือง ยาว 1.5–2 ซม. กลีบคู่บนยาว 1.1–1.4 ซม. กลีบล่างยาว 1.2–1.6 ซม. ปลายจัก 2 พู รยางค์แยกเป็นแฉก ๆ ยาวประมาณ 2 มม. แผ่นเกสรเพศผู้ยาวเท่า ๆ กลีบดอก ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. มีสันริ้ว ปีกกว้างประมาณ 4 มม. เยื่อหุ้มเมล็ดประมาณกึ่งหนึ่ง สีส้มพบที่ศรีลังกา เนปาล อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นหนาแน่นในป่าดิบเขา ความสูง 900–2300 เมตร มีความผันแปรสูง รากมีสรรพคุณแก้ไข้ ลดการอักเสบ
ต่างไก่ป่า: มีความผันแปรสูงทั้งลักษณะช่อดอกและสีดอก ผลผิวมีริ้วเป็นสัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
Chen, S.K., H. Ma and J.A.N. Parnell. (2008). Polygalaceae. In Flora of China Vol. 11: 141, 145, 147.
Pendry, C.A. (2001). Polygalaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 499–520.