Index to botanical names
ตุ้มหูทอง
Rubiaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 18 ม. แยกเพศต่างต้น หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 7–16 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดง ก้านใบยาว 0.5–1.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกปลายม้วน ก้านช่อยาว 0.5–2 ซม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 4 กลีบ ในดอกเพศเมียอาจมีได้ถึง 8 กลีบ กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแฉกตื้น ๆ ติดทน ดอกรูปดอกเข็ม สีเหลืองหรือสีครีม หลอดกลีบยาว 5–6 มม. กลีบยาวประมาณ 3 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดใต้ปากหลอดกลีบ อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. ยื่นพ้นหลอดกลีบในดอกเพศผู้ รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาว 5–6 มม. ยอดเกสรมี 4 พู รูปแถบ ยาวประมาณ 1.5 มม. ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีกว้างหรือกลม ยาว 5–7 มม. ไพรีนจำนวนมากพบที่คาบสมุทรมลายู ในไทยพบเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ขึ้นกระจายห่าง ๆ ในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร มีความผันแปรสูง แยกเป็น var. penangianus (Ridl.) K. M. Wong ช่อดอกเพศเมียมี 1–5 ดอกสกุล Timonius DC. มี 160–200 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคมาเลเซีย ในไทยมี 2 ชนิด อีกชนิด คือ T. flavescens (Jacq.) Baker พบในป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส ใบเล็กกว่า แผ่นใบเกลี้ยง ก้านดอกยาว
ชื่ออื่น เข็มช้าง (Surat Thani); ตุ้มหูทอง (ทั่วไป)
ตุ้มหูทอง: ช่อดอกเพศผู้แบบช่อกระจุกปลายม้วน ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบดอก 4 กลีบ และ var. penangianus (ภาพล่าง) (ภาพ: มนตรี ธนรส, ราชันย์ ภู่มา)
Puff, C., K. Chayamarit and V. Chamchumroon. (2005). Rubiaceae of Thailand. Forest Herbarium. Bangkok.
Wong, K.M. (1988). The Antirheoideae (Rubiaceae) of the Malay Peninsula. Kew Bulletin 43: 491–518.