ไม้เถา แยกเพศร่วมต้น มีขนแสบคันทั่วไป หูใบรูปสามเหลี่ยม ยาว 5–8 มม. ติดทน ใบเรียงเวียน รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 6–17 ซม. ปลายแหลมยาวหรือยาวคล้ายหาง โคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย เส้นโคนใบข้างละ 1–2 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตรงข้ามใบหรือปลายกิ่ง ยาว 3–9 ซม. ไม่มีกลีบดอกและจานฐานดอก ดอกเพศผู้จำนวนมากอยู่ปลายช่อ ก้านดอกยาวกว่าในดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 มม. ติดทน ขยายในผลเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน แยกกัน ก้านเกสรหนา อับเรณูปลายมีรยางค์สั้น ๆ ไม่มีเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน ดอกเพศเมียมี 1–2 ดอก อยู่ด้านล่าง ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 0.7–1 ซม. รังไข่มีขนหนาแน่น เกสรเพศเมียแยก 3 แฉก ยอดเกสรจักชายครุย ติดทน ผลแห้งแตก จัก 3 พู รูปรี ยาวประมาณ 1.5 ซม. คอลิวเมลลาติดทน กว้างด้านบน ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. มี 3 เมล็ด กลม ๆ glabriuscula N.P.Balakr. & N.G.Nair พบที่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดีย
สกุล Cnesmone Blume มี 12 ชนิด พบเฉพาะในเอเชีย ในไทยมี 3 ชนิด อีก 2 ชนิดคือ ตำแยราหู C. laevis (Ridl.) Airy Shaw โคนใบตัด กลีบเลี้ยงในดอกเพศเมียรูปลิ่มแคบ พบทางภาคใต้ และหานสลิด C. laotica (Gagnep.) Croizat โคนใบเว้าแคบกว่า ผลและกลีบเลี้ยงขนาดเล็กกว่า ไม่พบทางภาคใต้ ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “knesmos” แสบคัน หมายถึงพืชที่มีขนแสบคัน
|