สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ตับเต่าต้น

ตับเต่าต้น
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don

Ebenaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กว้าง ยาว 10–28 ซม. ปลายมน โคนกลมหรือเว้าตื้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 4 กลีบ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 2–3 มม. แฉกลึกประมาณหนึ่งส่วนสาม มีขนด้านนอก ดอกรูปคนโท ยาว 3–5 มม. แฉกลึก เกสรเพศผู้มี 20–30 อัน รังไข่ที่ไม่เจริญมีขนยาว ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ กลีบเลี้ยงแฉกลึก ด้านนอกมีขน รังไข่มีขนคล้ายขนแกะ มี 6 ช่อง ไม่มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ผลเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี แฉกลึก พับงอกลับ ก้านผลยาวประมาณ 1 ซม. เอนโดสเปิร์มมีลาย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ มะเกลือ, สกุล)

พบที่พม่า ลาว และกัมพูชา ในไทยพบกระจายแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ความสูง 100–500 เมตร

ชื่ออื่น   กากะลา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ชิ้นกวาง (ปราจีนบุรี); ตับเต่าต้น, ตับเต่าหลวง (ราชบุรี); มะโกป่า (แพร่); มะไฟผี (เชียงราย); มะมัง (นครราชสีมา); มาเมี้ยง (เขมร-สุรินทร์); เรื้อนกวาง, ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี); เฮื้อนกวาง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แฮดกวาง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ตับเต่าต้น: ใบรูปรีหรือรูปไข่กว้าง ปลายมน กลีบเลี้ยงแฉกลึก พับงอกลับ (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)



เอกสารอ้างอิง

Phengklai, C. (1981). Ebenaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(4): 319.