สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ตะไคร้หางสิงห์

ตะไคร้หางสิงห์
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Phyllanthus taxodiifolius Beille

Phyllanthaceae

ไม้พุ่ม สูง 0.5–2 ม. แยกเพศร่วมต้น กิ่งเป็นเหลี่ยม หูใบรูปใบหอก ยาว 1–2 มม. ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอกหรือรูปแถบ เบี้ยว ยาว 3–5 มม. ปลายมีติ่งแหลม เส้นแขนงใบข้างละ 3–4 เส้น ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกยาว 2–3 มม. ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 0.5 มม. จานฐานดอกเป็นแผ่นต่อม 4 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มม. จานฐานดอกรูปถ้วย จักมน รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 แฉก ยาว 0.2–0.3 มม. ผลแห้งแตก รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–7 มม. มี 6 ริ้ว แตกเป็น 3 ซีก ก้านผลยาวประมาณ 3 มม. มี 2 เมล็ดในแต่ละซีก รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 2.5 มม. มีเส้นใยฝอย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ผักหวานดง, สกุล)

พบที่จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขึ้นตามที่โล่งใกล้แหล่งน้ำ ความสูง 50–700 เมตร

ชื่ออื่น   ไคร้หางนาค (ปราจีนบุรี); ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี); เสียว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); เสียวน้อย (ขอนแก่น); เสียวน้ำ (ปราจีนบุรี); เสียวเล็ก (ขอนแก่น)

ตะไคร้หางสิงห์: กิ่งเป็นเหลี่ยม ใบออกหนาแน่นเรียงสลับระนาบเดียว ดอกเพศผู้ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ ก้านดอกรูปเส้นด้าย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ผลมี 6 ริ้ว (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)



เอกสารอ้างอิง

Chantaranothai, P. (2007). Euphorbiaceae (Phyllanthus). In Flora of Thailand Vol. 8(2): 503–504.