สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ตะเคียนหิน

ตะเคียนหิน
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Hopea ferrea Laness.

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น สูง 10–30 ม. โคนต้นมีพูพอน เปลือกส่วนมากแตกเป็นสะเก็ดตามยาว ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 4–10 ซม. บางครั้งเบี้ยว ปลายยาวคล้ายหาง เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดถี่ มักมีต่อมใบเป็นจุดนูน ก้านใบยาว 1–1.3 ซม. ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกยาว 3.5–8 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง ดอกสีขาวครีม กลีบรูปรี ยาว 2–3 มม. ขอบกลีบเป็นชายครุย เกสรเพศผู้ 15 อัน รังไข่และฐานก้านเกสรเพศเมียรูปลูกแพร์ ยาว 2 มม. เกลี้ยง กลีบเลี้ยงขยายเป็นปีก ปีกยาว ยาว 3–4 ซม. ปีกสั้น ยาว 2.5–4 มม. ผลรูปกระสวย ยาว 1–1.3 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ตะเคียนทอง, สกุล)

พบในภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นกระจายตามป่าดิบแล้ง ทางภาคใต้ขึ้นตามเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร

ชื่ออื่น   เคียนทราย (ตราด, ตรัง); ตะเคียนหนู (นครราชสีมา); ตะเคียนหิน (ภาคใต้); เหลาเตา (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี)

ตะเคียนหิน: โคนต้นมีพูพอน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผลรูปกระสวย (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)



เอกสารอ้างอิง

Ashton, P.S. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 421.

Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 142.

Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam. 25: 72–73.