Index to botanical names
ตองแตบ
Euphorbiaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. แยกเพศต่างต้น กิ่งเป็นเหลี่ยม มีขนเป็นขุยหนาแน่น ตามกิ่ง หูใบ แผ่นใบด้านล่าง และใบประดับ ร่วงเร็ว หูใบรูปขอบขนาน ยาว 0.3–1 ซม. ใบเรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือแกมรูปสามเหลี่ยม ยาว 10–24 ซม. โคนแบบก้นปิด เส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน ก้านใบยาว 5–11 ซม. มีต่อมน้ำต้อยขนาดเล็กกระจายใกล้โคน ใบประดับและใบประดับย่อยขนาดเล็ก ติดทน ขอบมีต่อม ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้แบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก 3–7 ดอก กลีบเลี้ยง 2–3 กลีบ ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศผู้มีประมาณ 15 อัน อับเรณูมี 4 ช่อง ช่อดอกเพศเมียแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 7 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก 1–3 ดอก กลีบเลี้ยง 2 กลีบ ยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านเกสรเพศเมีย 2–3 อัน ยาวประมาณ 1 มม. ผลแห้งแตก จัก 2 พู กว้างประมาณ 5 มม. ผิวมีเกล็ดต่อมขนาดเล็กหนาแน่น ก้านยาวประมาณ 1 ซม. แต่ละช่องมีเมล็ดเดียวพบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา จีนตอนใต้ ลาว คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่งในป่าเสื่อมโทรม ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร น้ำคั้นจากใบใช้ล้างแผลสดสกุล Macaranga Thouars อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Acalyphoideae เผ่า Acalypheae มีประมาณ 300 ชนิด พบในแอฟริกา มาดากัสการ์ เอเชีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยมี 21 ชนิด ชื่อสกุลเป็นภาษาพื้นเมืองของมาดากัสการ์
ชื่อพ้อง Mappa denticulata Blume
ชื่ออื่น กะลอ, กะลอเกลี้ยง (ภาคใต้); กะหลำป้าง (ตราด); ตองเต้า, ตองแตบ (ภาคเหนือ); ตองม่อม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); เต้าแม้ว, ปอขี้แฮด (เชียงใหม่); ปอหมัน (แพร่); ปะดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สลาป้าง (ตราด); สะลอเกลี้ยง, หลอ (ภาคใต้); แหล่ทะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ตองแตบ: ใบรูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม โคนใบแบบก้นปิด เส้นแขนงใบย่อยเรียงขนานกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุก ผลจัก 2 พู ผิวมีเกล็ดต่อมหนาแน่น (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)
Whitmore, T.C. and S.J. Davies. (2007). Euphorbiaceae (Macaranga). In Flora of Thailand Vol. 8(2): 364–365.