ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. กิ่งอ่อนมีขนยาว หูใบรูปแถบ ยาว 0.5–1 ซม. ใบประกอบยาว 15–30 ซม. ก้านยาว 3.5–6.5 ซม. มีใบย่อย 4–6 คู่ มีต่อมรูปกระบองระหว่างก้านใบย่อย 2 คู่ล่าง ใบย่อยรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 5–10 ซม. ปลายแหลมมน หรือเว้าตื้น โคนรูปลิ่มกว้างถึงกลม แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบสั้น ช่อดอกแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 4–8 มม. พับงอกลับ ร่วงเร็ว ก้านดอกยาว 1–3 ซม. กลีบเลี้ยงคู่นอกกลม ขนาดประมาณ 3 มม. 3 กลีบในรูปไข่กลับ ยาว 6–9 มม. กลีบดอกรูปไข่ ยาว 1.5–2.5 ซม. อับเรณูยาวเท่า ๆ กัน ยาว 5–7 มม. ก้านชูอับเรณูอันยาว 1 อัน ยาว 3–4 มม. อันสั้น 9 อัน ยาว 1–2 มม. รังไข่มีขนประปราย ก้านเกสรเพศเมียโค้ง เกลี้ยง ฝักรูปแถบ แบน ยาว 10–20 ซม. เป็นมันวาว ปลายมีจะงอย มี 20–30 เมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ขี้เหล็ก, สกุล)
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบเฉพาะเป็นไม้ประดับ คล้ายกับทรงบาดาล S. surattensis (Burm.f.) H. S. Irwin & Barneby ที่มีใบย่อย 6–9 คู่ ใบขนาดเล็กกว่า ปลายใบกลม ฝักสั้นกว่า
|