Index to botanical names
ดีหมี
Ebenaceae
Euphorbiaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แยกเพศต่างต้น หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 8–27 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 2–8 ซม. ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้แบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 25 ซม. ก้านดอกยาว 1–4 มม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่ ยาว 2–3 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูแบน สั้น อับเรณูเบี้ยว ช่อดอกเพศเมียมีดอกเดียว ก้านดอกยาว 3–9 ซม. ปลายก้านหนา กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1.6–1.8 มม. ขอบจักชายครุย ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก ติดทน ยาว 0.8–1.5 ซม. ผลแห้งแตก จัก 2 พู ถ้ามี 2 เมล็ด หรือกลมถ้ามีเมล็ดเดียว เกลี้ยง เมล็ดรูปรีกว้าง ยาว 1.2–1.3 ซม.พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย หมู่เกาะโซโลมอน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตรสกุล Cleidion Blume มีประมาณ 25 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอเมริกาใต้ ในไทยมี 2 ชนิด ชนิด C. brevipetiolatum Pax & K.Hoffm. พบบนเขาหินปูนทางภาคเหนือ รังไข่มี 3 ช่อง กลีบเลี้ยงขยายในผล และผลมีขนยาว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kleidion” กุญแจ ตามลักษณะของเกสรเพศผู้หรือก้านดอกเพศเมีย
ชื่ออื่น กาดาวกระจาย (ประจวบคีรีขันธ์); กาไล, กำไล (สุราษฎร์ธานี); คัดไล (ระนอง); จ๊ามะไฟ (ภาคเหนือ); เซยกะชู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ดินหมี, ดีหมี (ลำปาง); มะดีหมี (ภาคเหนือ)
ดีหมี: ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผลเกลี้ยง มี 1–2 พู เกสรเพศเมียติดทน ปลายก้านผลหนา (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
van Welzen, P.C. and K. Kulju. (2005). Euphorbiaceae (Cleidion). In Flora of Thailand Vol. 8(1): 164–167.