ไม้ต้น สูงได้ถึง 50 ม. พูพอนสูงได้ถึง 3 ม. ชันสีขาวขุ่น มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน หูใบด้านใน ช่อดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอกด้านนอก หูใบรูปใบหอกหรือรูปแถบ ยาว 5–8 มม. ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 8–20 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 12–20 เส้น เรียงจรดกันใกล้ขอบใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 1.5–3 ซม. ช่อดอกยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านดอกยาว 1–2 มม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน ยาว 7–8 มม. เกสรเพศผู้ 15 อัน อับเรณู ยาว 1–2 มม. ปลายมีรยางค์สั้น ๆ เป็นติ่งแหลม ฐานก้านเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มม. ยอดเกสรจัก 3 พู ไม่ชัดเจน หลอดกลีบเลี้ยงมีขนประปราย ปีกยาว 2 ปีก ยาว 10–15 ซม. ปีกสั้น 3 ปีก ยาว 1–3 ซม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กระบาก, สกุล)
พบที่อินเดีย บังกลาเทศ พม่าตอนล่าง และคาบสมุทรมลายูตอนบน ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 300–700 เมตร เป็นไม้วงศ์ยางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย พบที่อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช (ต้นกระบากใหญ่) จังหวัดตาก มีเส้นรอบวงถึง 16 เมตร สูงประมาณ 50 เมตร ชื่อ ช้าม่วง เป็นชื่อที่เรียกทางภาคใต้ หมายถึงคล้ายมะม่วง ตามลักษณะใบอ่อนที่มีสีม่วง
|
ชื่อพ้อง Hopea scaphula Roxb.
|
|
|
ชื่ออื่น กระบาก (กาญจนบุรี); กะหด (ภาคเหนือ); จำปา (นครศรีธรรมราช); จำปาใบเล็ก (ระนอง); ช้าม่วง (ภาคใต้); ตาบ (นครศรีธรรมราช); บากขาว (พังงา); ปีก (ตรัง, ปัตตานี)
|
ช้าม่วง: แผ่นใบเกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ผลมีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์, Simon Gardner, ราชันย์ ภู่มา)
|
|