Index to botanical names
ชิงชี่
Capparaceae
ไม้พุ่ม ไม้ต้น หรือไม้เถา บางครั้งมีเกล็ดหุ้มติดที่โคนยอด ใบเรียงเวียนหรือเรียงสลับระนาบเดียว มักมีหูใบเป็นหนาม หนามตรงหรือโค้ง ดอกออกเดี่ยว ๆ เป็นกระจุก หรือเป็นช่อแบบช่อกระจะหรือช่อซี่ร่ม ตามซอกใบเป็นแถวด้านบน หรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียง 2 วง แยกจรดโคน กลีบดอก 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม แยกเป็น 2 คู่ ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูติดที่ฐาน หันเข้า แตกตามยาว มีก้านชูเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลจำนวนมาก พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ไร้ก้าน ผลคล้ายผลสดมีหลายเมล็ด มีเนื้อเป็นปุยสกุล Capparis มีประมาณ 250 ชนิด พบทั่วไปในเขตร้อน กึ่งเขตร้อน และพบประปรายในเขตอบอุ่น ในไทยมีกว่า 30 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kapparis” ที่ใช้เรียก C. spinosa L.
ไม้พุ่มหรือรอเลื้อย มีหนามตรง ยาว 2–4 มม. ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–30 ซม. โคนมนหรือกลม แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1–2 ซม. ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบด้านบน มี 2–7 ดอก มีหนาม 1–4 อัน ระหว่างก้านดอกและก้านใบ ก้านดอกยาว 0.6–2 ซม. มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 0.6–1 ซม. ขอบมีขนครุย ดอกสีขาว กลีบคู่บนมีสีเหลืองหรือมีสีม่วงแซม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 1–2 ซม. ปลายกลีบกลม โคนเรียวแคบ ก้านชูอับเรณูยาว 1.5–2.5 ซม. รังไข่เกลี้ยง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว 1.5–3 ซม. เกลี้ยง ผลรูปกลมหรือรี ยาว 3–7 ซม. ผนังหนาสีส้มแดง มีริ้วตื้น ๆ หรือเรียบ ก้านผลยาว 3.5–4 ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปไต ยาวประมาณ 7 มม. สีแดงเข้มพบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และชายป่าดิบชื้น ความสูง 100–500 เมตร น้ำสกัดจากรากแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ ลดไข้
ชื่อสามัญ Caper thorn
ชื่ออื่น กระดาดขาว (ภาคกลาง); กระดาดป่า (ชลบุรี); กระโรกใหญ่ (ภาคกลาง); ค้อนกลอง (เพชรบูรณ์); ค้อนฆ้อง (สระบุรี); จิงโจ้ (ภาคกลาง); ชายชู้ (ชัยภูมิ); ชิงชี่ (ภาคกลาง); ซิซอ (ปราจีนบุรี); พญาจอมปลวก (ภาคกลาง); พวงมาระดอ, เม็งซอ (ปัตตานี); ราม (สงขลา); แสมซอ (ภาคกลาง); แส้ม้าทลาย, หนวดแมวแดง (เชียงใหม่); หมากมก (ชัยภูมิ)
ชิงชี่: ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบด้านบน ดอกสีขาว กลีบคู่บนมีสีเหลืองหรือม่วงแซม ผลรูปกลมหรือรี ผนังหนาสีส้มแดง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวได้ถึง 6 ม. มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลเข้มตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก กิ่งเป็นเหลี่ยม หนามโค้ง ยาว 2–6 มม. ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 7–9 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกตามปลายกิ่งด้านข้างสั้น ๆ ก้านดอกยาว 2–3 ซม. กลีบเลี้ยงกลม คู่นอกคล้ายรูปเรือ ยาวประมาณ 0.6 มม. คู่ในแบนเรียบ ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกสีม่วงอมชมพู หรือขาว กลีบดอกคู่ในเชื่อมติดกันที่โคน กลีบรูปไข่กลับ ยาว 1.2–2 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 3.5 ซม. รังไข่เกลี้ยง ผลรูปรีพบที่จีนตอนใต้ เวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือที่ตาก น่าน ขึ้นตามชายป่าและที่โล่งในป่าดิบเขา ความสูง 700–1300 เมตร
ชื่ออื่น สาลีหนุ่ม (ทั่วไป)
ชิงชี่เขา: ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกตามปลายกิ่งด้านข้าง ดอกสีม่วง อมชมพู หรือขาว (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 4 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล กิ่งและใบเรียงสลับระนาบเดียว หนามตรง ยาว 2–3 มม. ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 4.5–9 ซม. ปลายยาวคล้ายหาง ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบด้านบนเรียงเป็นแถว ก้านดอกยาว 1.3–2 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 4–5 มม. คู่นอกคล้ายเรือ เกลี้ยง คู่ในแบน รูปรีหรือรูปขอบขนาน มีขนสั้นนุ่ม กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 7 มม. คู่ในติดกัน มีขนสั้นหนานุ่มและขนครุย ก้านชูเกสรเพศเมียยาวได้ถึง 2.2 ซม. รังไข่เกลี้ยง ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. เปลือกบาง เรียบ ก้านยาว 3–4 ซม.พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคเหนือที่เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขาที่เป็นหินปูน ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร
ชิงชี่ใบแหลม: ปลายใบยาวคล้ายหาง ผลกลม ก้านยาว (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Chayamarit, K. (1991). Capparaceae. In Flora of Thailand Vol. 5(3): 241–259.
Zhang, M. and G.C. Tucker. (2008). Capparaceae. In Flora of China Vol. 7: 440.