ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2 ม. ส่วนต่าง ๆ มีขนหยาบกระจาย หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7–8 มม. ใบส่วนมากรูปฝ่ามือ 3–7 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 6–15 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 7–15 ซม. ดอกออกเดี่ยว ๆ ก้านดอกยาว 2–3 ซม. ริ้วประดับ 6–12 อัน รูปแถบ ยาว 0.8–1.3 ซม. โค้งเข้า กลีบเลี้ยงยาว 2–3 ซม. ดอกสีเหลืองนวล โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาลทั้งด้านนอกและด้านใน ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7–12 ซม. เส้าเกสรยาวประมาณ 2.5 ซม. รังไข่มีขนหนาแน่น ผลรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 5–6 ซม. ปลายแหลม เมล็ดสีน้ำตาลดำ รูปคล้ายไต มีปุ่มเล็ก ๆ เป็นร่างแหกระจาย (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ กระเจี๊ยบมอญ, สกุล)
พบที่อินเดีย จีน พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง ริมลำธาร ชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูง 200–1000 เมตร แยกเป็น subsp. biakensis (Hochr.) Borss.Waalk. พบที่นิวกินี ส่วน subsp. tuberosus (Span.) Borss.Waalk. เป็นชื่อพ้องของโสมชบา A. sagittifolius (Kurz) Merr. โคนกลีบดอกไม่มีสีเข้ม เมล็ดมีกลิ่นแรง ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอม มีสรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดการอักเสบ และควบคุมฮอร์โมนเพศหญิง
|