Index to botanical names
จิงจ้อผี
Convolvulaceae
ไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 2 ม. มีขนสั้นนุ่มตามแผ่นใบ ก้านใบ ก้านดอก หรือเกลี้ยง ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 1.5–8 ซม. โคนรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1–6 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อซี่ร่ม ก้านช่อยาวได้ถึง 4 ซม. ใบประดับรูปลิ่มแคบ ก้านดอกยาว 3–5 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม 3 กลีบนอกขนาดใหญ่กว่าคู่ใน ยาว 5–7 มม. ด้านนอกมีขนยาว ดอกรูปลำโพง สีขาว อมม่วงหรืออมชมพู ยาว 0.8–1.2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉกตื้น ๆ เกลี้ยงหรือมีขนใกล้ปลายกลีบ กลางกลีบเป็นแถบยาว เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่โคนหลอดกลีบ ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบ อับเรณูรูปรี เรณูไม่เป็นหนาม รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 6–8 มม. ยอดเกสรแยก 2 แฉก โค้งออก ผลแห้งแตกเป็น 8 ซีก กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–4 มม. เกลี้ยง มี 4 เมล็ด ยาวประมาณ 2 มม. มีปุ่มกระจาย ขอบมีปีกแคบ ๆพบในแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า และเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ 600 เมตร มีความผันแปรสูง แยกเป็นหลาย varieties น้ำสกัดจากใบและรากช่วยให้นอนหลับสกุล Jacquemontia Choisy มีประมาณ 120 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอเมริกา ในไทยมีชนิดเดียว และพบเป็นไม้ประดับ 1 ชนิด คือ แส J. pentanthos (Jacq.) G.Don ดอกสีฟ้าอมม่วง กลีบขนาดใหญ่กว่า แต่กลีบเลี้ยงแคบกว่า ชื่อสกุลตั้งตามนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Venceslas Victor Jacquemont (1801–1832)
ชื่ออื่น จิงจ้อ, จิงจ้อเขา (ประจวบคีรีขันธ์); จิงจ้อน้อย, จิงจ้อผี (ภาคเหนือ); จิงจำ, จิงจ้ำ (กรุงเทพฯ); ผักป้อแป้ (เชียงใหม่); สะอึก (ภาคเหนือ)
จิงจ้อผี: ช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อซี่ร่ม กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนยาว ดอกรูปลำโพง สีขาว หรืออมม่วง กลางกลีบมีแถบ ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก โค้งออก ผลกลม เกลี้ยง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Staples, G. (2010). Convolvulaceae. In Flora of Thailand Vol. 10(3): 427–429.