สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ง้าย

ง้าย
วันที่ 30 มกราคม 2560

Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk.

Myrtaceae

ดูที่ พรวด

ง้าย
วันที่ 30 มกราคม 2560

Caesalpinia sappan L.

Fabaceae

ดูที่ ฝาง

ง้าย
วันที่ 26 สิงหาคม 2559

Rhodamnia kerrii J.Parn. & NicLugh.

Myrtaceae

ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. เปลือกลอกเป็นแผ่น มีขนสั้นนุ่มตามแผ่นใบ ก้านใบ ก้านดอก ฐานดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอก ใบเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2–3 ซม. แผ่นใบหนา เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบสั้นมากหรือไร้ก้าน ดอกออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ตามซอกใบ ก้านดอกยาว 1–1.5 ซม. ก้านดอกเทียมยาวประมาณ 2 มม. ก้านดอกยาว 1–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปกรวย ยาวประมาณ 5 มม. ติดทน มี 4 กลีบ รูปรี ยาวประมาณ 2 มม. ดอกสีครีม มี 4 กลีบ รูปรี ยาวประมาณ 6 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 มม. โคนก้านสีชมพู แกนอับเรณูปลายแหลมสั้น รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ผลสด มี 1–2 เมล็ด รูปกลม สุกสีดำ มีขนละเอียด เมล็ดกลมหรือครึ่งวงกลม ยาวประมาณ 4 มม. ด้านหนึ่งเป็นเหลี่ยม

พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่โล่ง พื้นเป็นหินทราย

สกุล Rhodamnia Jack มี 24 ชนิด พบในเอเชียโดยเฉพาะภูมิภาคมาเลเซีย และออสเตรเลีย ในไทยมี 3 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “rhodon” กุหลาบ และ “amnion” ถุงน้ำคร่ำหรือรก ตามลักษณะผลที่ยังไม่แก่มีสีแดงคล้ายกุหลาบ

ชื่ออื่น   ง้าย (ส่วย); ปุ้ย (เขมร-ภาคตะวันออก)

ง้าย: มีขนสั้นนุ่มกระจาย ใบเรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ดอกส่วนมากออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย)



เอกสารอ้างอิง

Parnell, J. and P. Chantaranothai. (2002). Myrtaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(4): 807–809.