Index to botanical names
ขี้อ้น
Malvaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น มีขนรูปดาวกระจาย หูใบร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน ดอกออกเดี่ยว ๆ หรือแบบช่อกระจุก ส่วนมากออกตามซอกใบ ริ้วประดับขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดเล็กไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปปากเปิด กลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ มีก้านกลีบสั้น ๆ มักมีรยางค์เป็นติ่ง เกสรเพศผู้ 10 อัน ติดบนก้านชูเกสรร่วม ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 5 อัน รังไข่มี 5 ช่อง ออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียจักตื้น ๆ หรือแยกเป็น 5 แฉก ผลแห้งแตก บางครั้งบิดเป็นเกลียว เมล็ดมีตุ่มกระจาย ไม่มีปีกสกุล Helicteres เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Sterculiaceae ปัจจุบันอยู่วงศ์ย่อย Helicteroideae ร่วมกับอีก 8–10 สกุล เช่น Durio และ Reevesia เป็นต้น มีประมาณ 40 ชนิด ส่วนมากพบในเอเชียเขตร้อน ในไทยมี 7 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “heliktos” บิดเวียน ตามลักษณะผลบางชนิด เปลือกเป็นเส้นใยเหนียว
ไม้พุ่ม สูง 1–2 ม. ใบรูปไข่ ยาว 2.5–10 ซม. โคนมน ขอบเรียบหรือจักฟันเลื่อยเล็กน้อย แผ่นใบด้านล่างมีขนหนาแน่น เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาวได้ถึง 1 ซม. ช่อดอกออกสั้น ๆ หนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ด้านนอกมีขนหนาแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ด้านในสีเข้ม กลีบรูปใบหอกและรูปใบพาย ปลายแหลมหรือมน ยาว 0.8–1 ซม. รยางค์ติดเกือบตรงข้ามที่ก้านกลีบ ก้านชูเกสรร่วมเรียวยาว ปลายเป็นเหลี่ยม เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียจัก 5 พูตื้น ๆ ผลรูปทรงกระบอก ยาว 1–2 ซม. มีขนยาวหนาแน่นพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และสุมาตรา ในไทยแทบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ความสูง 100–300 เมตร
ชื่อพ้อง Oudemansia lanata Teijsm. & Binn.
ชื่ออื่น ขี้ตุ่น (นครราชสีมา); ขี้แมว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้อ้น (ราชบุรี); ปอกระเจาขาว (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ปอเขียง (ภาคตะวันตกเฉียงใต้)
ขี้อ้น: ช่อดอกออกหนาแน่นตอนปลายกิ่ง แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ผลรูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีขนหนาแน่น (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่ม สูง 1–2 ม. ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 5–15 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านล่างมีขนประปราย เส้นโคนใบข้างละ 1–2 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบ หรือที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 5 มม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น ดอกสีม่วงอมน้ำเงินอ่อน กลีบรูปใบพายหรือรูปลิ่ม ปลายตัด ยาว 0.8–1 ซม. เกสรเพศผู้เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียจักตื้น ผลรูปทรงกระบอก ยาว 2–3 ซม. มี 5 สัน มีขนยาวหนาแน่นพบที่อินเดีย บังกลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า และเวียดนาม ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร
ชื่ออื่น ข้าวจี่เล็ก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้อ้น (ภาคกลาง)
ขี้อ้น: ปลายแหลมยาว โคนมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบจักฟันเลื่อย ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ ออกตามซอกใบ (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
ไม้พุ่ม สูง 1–3 ม. มีขนรูปดาวหนาแน่นตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยงด้านนอก และผล ใบรูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 3–15 ซม. ปลายแหลมยาว โคนมนหรือกลม ขอบเรียบ เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันไดและแบบร่างแห ก้านใบยาว 0.3–1.5 ซม. ช่อดอกกระจุกสั้น ๆ กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. ดอกสีม่วงอมชมพูอ่อน ๆ กลีบรูปใบพาย ยาว 0.5–1 ซม. เกสรเพศผู้เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียจักตื้น ๆ ผลรูปทรงกระบอก ยาว 1–3 ซม. มี 5 สันพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือชายป่า ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร
ชื่ออื่น ขี้ตุ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้อ้น (ภาคตะวันตกเฉียงใต้); เข้ากี่น้อย (ภาคตะวันออก); ปอขี้ไก่, ปอเต่าไห้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ปอมัดโป (ภาคตะวันออกเฉียงใต้); ป่าเหี้ยวหมอง (ภาคเหนือ); ไม้หมัด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ยำแย่ (ภาคใต้); หญ้าหางอ้น (ภาคเหนือ)
ขี้อ้น: ขอบใบเรียบ เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก กลีบดอกรูปปากเปิด ผลรูปทรงกระบอกมี 5 สัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
Asteraceae
Phengklai, C. (2001). Sterculiaceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 563–571.
Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Sterculiaceae. In Flora of China Vol. 12: 318–319.