สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ก่อขี้หนู

ก่อขี้หนู
วันที่ 29 เมษายน 2559

Lithocarpus harmandii (Hickel & A.Camus) A.Camus

Fagaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ โคนเบี้ยว ยาว 11–22 ซม. เส้นใบย่อยไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 2–3.5 ซม. ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–17 ซม. ช่อดอกเพศเมียยาวกว่าเล็กน้อย ผลรูปกรวย ไร้ก้าน กว้าง 1.2–2 ซม. สูง 2–3 ซม. รวมกาบหุ้ม เชื่อมติดกันที่โคนหรือแยกกัน กาบหุ้มผลประมาณหนึ่งในสาม โคนหนา เกล็ดเรียงสลับสีน้ำตาลเทาเชื่อมติด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ก่อดำ, สกุล)

พบที่กัมพูชา เวียดนาม และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าสนเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร

ชื่อพ้อง  Pasania harmandii Hickel & A.Camus

ชื่ออื่น   ก่อขี้กวาง, ก่อด่าง (เพชรบูรณ์); ก่อขี้หนู (สุรินทร์); ก่อเข้า (เลย); ก่อตลับม ก่อหมู, ก่อแหลม (ภาคตะวันออก); ก่อหม่น (ภาคเหนือ); ก่อหมวก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); เกรี้ยง (เขมร-สุรินทร์); หนูทะลวง (ชลบุรี)

ก่อขี้หนู: ผลส่วนมากเชื่อมติดกันที่โคน กาบหุ้มผลประมาณหนึ่งในสาม เกล็ดเชื่อมติดกัน (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)



เอกสารอ้างอิง

Phengklai, C. (2008). Fagaceae. In Flora of Thailand Vol. 9(3): 295.