Index to botanical names
ก่อขี้ริ้ว
Fagaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ ยาว 12–35 ซม. เส้นแขนงใบโค้งจรดกัน ก้านใบหนา ยาว 1–1.5 ซม. ช่อดอกเพศผู้ยาว 10–30 ซม. ใบประดับรูปแถบ ยาว 0.5–1 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่า ผลรูปกรวยแยกกัน กว้าง 1.5–2 ซม. สูง 2–3 ซม. รวมกาบ ผิวมีนวลเป็นมันวาว กาบรูปถ้วยหุ้มผลน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เกล็ดเรียงสลับรูปสามเหลี่ยม โคนเชื่อมติดกัน (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ก่อดำ, สกุล)พบที่พม่า คาบสมุทรมลายู ในไทยส่วนมากพบทางภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร
ชื่อพ้อง Quercus falconeri Kurz
ชื่ออื่น ก่อขี้ริ้ว (ตรัง); ก่อขี้หมู, ก่อแซะ, ก่อเนื้อริ้วม ก่อหมู, ก่อหลับเต้าปูน (ภาคใต้); ก่อปัน (ยะลา); กาปูน (สตูล); ประมูนิ, มาแงบาบี (มาเลย์-ภาคใต้)
ก่อขี้ริ้ว: ใบรูปใบหอกกลับ ผลแยกกัน กาบหุ้มผลน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
Phengklai, C. (2008). Fagaceae. In Flora of Thailand Vol. 9(3): 287–289.