สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

กาหลง

กาหลง
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Lasiobema pulla (Craib) A.Schmitz

Fabaceae

ดูที่ แสลงพันเถา

กาหลง
วันที่ 1 กรกฎาคม 2559

Bauhinia acuminata L.

Fabaceae

ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. หูใบรูปแถบ ยาวประมาณ 1 ซม. ใบรูปไข่กว้าง ยาวได้ถึง 14 ซม. แฉกลึกถึงประมาณกึ่งหนึ่ง โคนรูปหัวใจ เส้นโคนข้างละ 4–5 เส้น แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาว 3–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น ๆ มี 3–10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5–2 ซม. ใบประดับติดใต้กึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปกระสวยยาวได้ถึง 4 ซม. ปลายแยก 5 แฉกเล็ก ๆ ฐานดอกยาวประมาณ 5 มม. มีริ้ว กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. ดอกสีขาว กลีบรูปขอบขนาน ยาว 4–6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูยาว 1.5–2.5 ซม. โคนมีขน อับเรณูยาว 4–5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.5 ซม. ฝักแบน รูปแถบ ยาวประมาณ 10 ซม. ขอบเป็นสัน มี 5–11 เมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ชงโค, สกุล)

มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคมาเลเซียแถบเกาะชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะซุนดาน้อย เป็นไม้ประดับทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งพบกระจายในธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง

ชื่อสามัญ  White orchid tree

ชื่ออื่น   กาแจ๊ะกูโด (มาเลย์-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)

กาหลง: ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น ๆ เกสรเพศผู้ยาวไม่เท่ากัน ฝักแบน รูปแถบ ขอบเป็นสัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, ปรีชา การะเกตุ)

กาหลง
วันที่ 31 มีนาคม 2559

Hydnocarpus castaneus Hook.f. & Thomson

Achariaceae

ดูที่ กระเบา



เอกสารอ้างอิง

Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 11–13.